Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Torenia fournieri
Torenia fournieri
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Torenia fournieri
E.Fourn.
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Torenia fournieri Linden
ชื่อสามัญ::
-
Bluewings, Wishbone flower
ชื่อไทย:
-
แววมยุรา
-
แววมยุรา,เกล็ดหอย
-
แววมยุรา
ชื่อท้องถิ่น::
-
เกล็ดหอย แววมยุเรศ
-
เกล็ดหอย(อุบลราชธานี),แววมยุรา ,แววมยุเรศ(กรุงเทพฯ),สามสี,หญ้าลิ้นเงือก,หญ้าลำโพง(เลย),หัวกวาง,แมวโพง(ยโสธร)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Lamiales
วงศ์::
Linderniaceae
สกุล:
Torenia
วันที่อัพเดท :
17 ส.ค. 2563 09:21 น.
วันที่สร้าง:
17 ส.ค. 2563 09:21 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านโปร่ง ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบจัก กว้าง 0.8-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด จึงทำให้เป็นลักษณะพุ่มที่ปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกโป่งคล้ายเป็น ครีบ 5 ครีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีม่วงอ่อนและมีสีเหลืองแต้ม ปลายหลอดแยกเป็น 2 กลีบ กลีบบนสีม่วงอ่อน แยกเป็น 2 แฉก ตื้นๆ กลีบล่างมี 3 แฉก แฉกสีฟ้าปนม่วงกลีบกลางมีสีเหลืองแต้ม ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. และเกล็ดมีขนาดเล็ก รูปรี
-
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านโปร่ง ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีขนที่สัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร รูปใบหอก ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ก้านใบยาวประมาณ 1.5 มม. ดอกช่อกระจะโปร่ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกยาว 4 ซม. แกนช่อดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับ 1 ใบ รูปแถบแกมใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ปลายแหลม ขอบเป็นชายครุย ผิวมีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีได้ถึง 8 ดอก บานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ก้านดอกย่อยยาว 1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่มบริเวณสัน กลีบดอกมี 5 กลีบ หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. โคนแคบ ผิวด้านในมีขนสั้นนุ่ม ผิวด้านนอกเกลี้ยง หรือมีขนต่อมขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงปากสีม่วงเข้ม กลีบตรงกลางมีแต้มสีเหลือง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นสองปาก กลีบด้านบนสองกลีบ กว้างประมาณ 10 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ชนกันเป็นรูปคุ่ม กลีบด้านล่างสามกลีบสีม่วงเข้ม กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็น 2 คู่ สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ติดบริเวณกลางของหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกระบอกเบี้ยว ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง ออวุลจำนวนมากติดที่แกน ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวประมาณ 16 มม. ยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นทรงรี แต่ละกลีบมีครีบ กว้างประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มม. ผลเป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. มีกลีบลี้ยงติดทน เมล็ดมีขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปรี ขึ้นบริเวณที่ร่ม หรือบนหินในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับ 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านโปร่ง ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบจัก กว้าง 0.8-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด จึงทำให้เป็นลักษณะพุ่มที่ปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกโป่งคล้ายเป็น ครีบ 5 ครีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีม่วงอ่อนและมีสีเหลืองแต้ม ปลายหลอดแยกเป็น 2 กลีบ กลีบบนสีม่วงอ่อน แยกเป็น 2 แฉก ตื้นๆ กลีบล่างมี 3 แฉก แฉกสีฟ้าปนม่วงกลีบกลางมีสีเหลืองแต้ม ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3 ซม. ยาว 1 ซม. และเกล็ดมีขนาดเล็ก รูปรี
-
ต้นสูง 31.94-42.46 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.84-4.36 เซนติเมตร ใบยาว 3.31-3.93 เซนติเมตร กว้าง 2.06-2.44 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 5.25-8.65 เซนติเมตร มี 3-6 ดอกต่อช่อ ฝักยาว 1.45-1.67 เซนติเมตร กว้าง 0.65-0.87 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
-
มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีน ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
-
ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามซอกหินที่ชื้น ริมลำธาร และในพื้นที่ชายป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1200 เมตร
-
พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ป่าผลัดใบ ดินร่วนทราย ดินทราย พื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 126 เมตร
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ล้มลุก
-
เป็นพืชล้มลุก (annual) ขนาดเล็ก ลำต้นกึ่งตั้ง ส่วนที่อยู่ด้านล่างทอดนอนเกือบติดพื้นดิน ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีสันขึ้น สีลำต้นเขียวอมม่วง มีขนสั้น ๆ ปกคลุมปานกลาง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) รูปร่างใบแบบรูปไข่ (ovate) โคนใบตัดตรง (truncate) ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) หน้าใบ หลังใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมปานกลาง ก้านใบสีเขียวอ่อน มีขนคลุม ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบนุ่ม (tender) เส้นกลางใบ (mid rib) และเส้นใบ (vein) ที่แยกจากเส้นกลางใบ มีลักษณะคล้ายคลื่นสั้น ๆ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) รอยจักลึกคมชัดเจน ตรงปลายรอยหยักมีขน 1 เส้นไม่มีหูใบ ดอกออกตลอดปี ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ (raceme) ดอกเดี่ยวรูปปาก (labiate) มีก้านดอก โคนดอกส่วนที่มีกาบดอก (bract) หุ้มอยู่มีสีเหลือง กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อนลักษณะเป็นแผ่นปีก 5 ปีกรอบ ๆ โคนดอกเหนือขึ้นมามีสีม่วง กลีบกลาง (standard) ขนาดใหญ่สีม่วง กลีบคู่ข้าง (wing) ส่วนบนสีม่วงอมดำ กลีบคู่ล่าง (keel) สีม่วงอมดำ มีแต้มสีเหลือเป็นวงรูปไข่ อับเรณูสีม่วงอมขาว ฝักเป็นรูปรีแบ่งเป็น 5 แฉก สีเขียวอมม่วง มี 1-3 ฝักต่อช่อ ฝักแก่แตกตามยาว(septifragal)เมล็ดรูปกลมสีเหลืองขนาดเล็ก จำนวนมาก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อุบลราชธานี
-
เขตพื้นที่สอนป่าดงมัน บ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (PC 523)
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
ผาแต้ม
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA1084233
1084233
2
PRJNA938788
938788
3
PRJNA928860
928860
4
PRJNA928569
928569
5
PRJNA756440
756440
6
PRJNA738060
738060
7
PRJNA728372
728372
8
PRJDB11014
721892
9
PRJNA707101
707101
10
PRJNA670186
670186
11
PRJNA636634
636634
12
PRJNA515565
515565
13
PRJNA515557
515557
14
PRJDB738
254382
15
PRJDB2809
247335
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ระบบนิเวศ
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Hymenophyllum barbatum
หอยเม็ดถั่วเขียว
Clithon coronatus
Trema occidentalis
Tylophora flexuosa
สะระแหน่หิน
Platostoma intermedium
กะทังหันใบเล็ก
Calophyllum pisiferum
Previous
Next