-
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นก
-
นกขนาดเล็ก (18 ซม.) สีเทาเข้ม โดยบริเวณอกและท้องสีจะจางกว่า ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว มีลายพาดแคบๆ สีขาวที่ขนคลุมโคนขนหางด้านบน และลายพาดสีขาวหรือเทาที่ปลายหาง ปากมีสีน้ำเงินอ่อน หัว คอ คอหอยและปีกสีเทาmบริเวณหัวตาสีดำ ลำตัวส่วนอื่นสีน้ำตาล
-
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ปากหนาสีเทาแกมฟ้า หน้าดำหรือเทาเข้ม หัวและลำตัวด้านบนเทา อกและลำตัวด้านล่างน้ำตาลแกมเหลือง ก้นขาว ขณะบินปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม ใต้ปีกขาวแกมน้ำตาลอ่อน หางสั้น นกวัยอ่อน : ขนลำตัวแกมน้ำตาล มีลายเกล็ดบนหลังและปีก ปากน้ำตาล
-
ระบบนิเวศ :
-
พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่เกษตรกรรม บางครั้งพบบินเหนือป่า ที่ราบถึงความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
-
พบตามทุ่งโล่ง มักพบเกาะตามกิ่งไม้แห้ง ตอไม้ ระหว่างที่เกาะจะเห็นหางกระดกขึ้นลงอย่างช้าๆ หรืออาจจะบินสลับการร่อนกลางอากาศ ซึ่งจะเด่นชัดมากก็คือ ปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม อาหารได้แก่ แมลงต่างๆ โดยการโฉบจับด้วยปากกลางอากาศ แล้วมาเกาะในตำแหน่งเดิม
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศภูเขา
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
ระบบนิเวศป่าไม้
-
ระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
นครพนม
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
เชียงใหม่,ตาก,กำแพงเพชร
-
เลย
-
นนทบุรี
-
พะเยา
-
น่าน
-
อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
-
น่าน
-
สมุทรปราการ
-
นนทบุรี
-
ฉะเชิงเทรา
-
กรุงเทพมหานคร
-
กรุงเทพมหานคร
-
ลำพูน, เชียงราย
-
สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
สระแก้ว
-
บุรีรัมย์, สระแก้ว
-
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
แม่น้ำสงครามตอนล่าง
-
ลุ่มน้ำปิง, แม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่กวง แม่น้ำปิง คลองแม่ระกา
-
ป่าภูหลวง
-
พื้นที่เกษตรกรรม
-
บริเวณบ้านปางพริก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง
-
อำเภอเวียงสา และพื้นที่ใกล้เคียง
-
ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
-
พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร ลำพูน, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย
-
อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
-
อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
-
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม รังเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทำจากต้นหญ้า รากไม้และสารเยื่อใยต่างๆ โดยนำวัสดุเหล่านี้สอดสานเข้าด้วยกันแล้ววางตามคอหรือระหว่างโคนก้านหรือลำต้นของมะพร้าวหรือต้นปาล์ม หรือบนตอไม้
แต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง ไข่สีขาวแกมเขียวมีจุดสีน้ำตาล ระยะเวลาฟักไข่ 14-15 วัน