Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Sarcolobus globosus
Sarcolobus globosus
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Sarcolobus globosus
Wall.
Status:
ACCEPTED
ชื่อไทย:
-
หัวลิง
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Gentianales
วงศ์::
Apocynaceae
สกุล:
Sarcolobus
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
30 มิ.ย. 2564 18:57 น.
วันที่สร้าง:
30 มิ.ย. 2564 18:57 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้เลื้อย (Climber)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ลำต้นเกลี้ยง สีน้ำตาลเรื่อ ยาวถึง 5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ส่วนต่าง ๆ ของเถามีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขนาด 3-6x8-14 ซม. โคนใบมนกลมถึงเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยุบตัว เส้นแขนง 5-8 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนังกึ่งอวบน้ำ ผิวใบมีขนสั้นปกคลุมเล็กน้อยถึงเกือบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 1-3 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้านคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. บางครั้งแตกเป็น 2 แขนงที่ปลายช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกย่อยรูปกงล้อ สีเหลืองนวลหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลหรือม่วงเป็นแถบบนกลีบ ดอกบานขนาดเส้นผ่านศูนย์ลาง 0.8-1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.8-1.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ขนาดเล็ก เรียงซ้อนเหลื่มกัน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลาแยกเป็นแฉกรูปไข่ 5 แฉก ภายในคอหลอดดกมีขนสั้นนุ่มปกคลุมหนาแน่น และค่อย ๆ ลดหายไปทางปลายแฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน เชื่อมติดกับเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสรอยู่กลางดอกคล้ายย่านขี้ผึ้ง แต่ปีกของอับเรณูโค้งติดหลอดเกสรเพศผู้ลงมาถึงบริเวณกลางหลอด ไม่มีรยางค์ของกลีบดอกและเกสรเพศผู้ หรือหากมีรยางค์เกสรเพศผู้ มักพัฒนาไม่ดี ออกดอกระหว่างเดือน กันยายน-กุมภาพันธ์
ผล แบบผลแตกแนวเดียว รูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายหัวลิงแสม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. เปลือกผลสีน้ำตาล หนาประมาณ 1.2 ซม. ผิวเรียบถึงหยาบเป็นลายร่างแห และมีสันตามยาว 1 สัน เมล็ดรูปทรงไข่ แบนเป็นปีก และมีขอบหนาสีน้ำตาลเข้ม ขนาด 0.8-1.2x1.5-1.8 ซม. ไม่มีขนเป็นพู่ ที่ปลาย
การกระจายพันธุ์ :
-
ประเทศอินเดียตะวันออก พม่า ไทย หมู่เกาะมลายูและบอร์เนียว
ที่มาของข้อมูล
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Osmunda cinnamomea
Tephrosia coccinea
Phyllanthus pulcherrimus
Lepisorus bicolor
Garnotia acutigluma
Eragrostis superba
Previous
Next