-
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
จมูกมีหนวดสั้น รูช่วยหายใจเล็กกว่าตา ปากกว้างอยู่เกือบปลายสุดของจะงอยปาก ฟันขนาดเล็กมาก รูปร่างเหมือนกัน ซึ่งมีปลายแหลมงุ้มคล้ายตะขอ มีสันนูนหลายแถวข้างลำตัว ครีบหลังอันแรกมีจุดเริ่มต้นอยู่หน้าจุดเริ่มต้นครีบท้อง คอดหางแบนมีสันแข็งทางด้านข้าง มีร่องที่ด้านบนคอดหาง ครีบหางเป็นรูปตัววีหรือพระจันทร์เสี้ยว ไม่มีรอยบากใต้แพนครีบหางตอนบน ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีจุดสีขาวกระจายเป็นแนวเส้นพาดขวางทั่วทั้งตัว และด้านท้องสีขาว ขนาดความยาวสูงสุด 2,140 ซม. (21.4 เมตร) ขนาดทั่วไปที่พบ 5-10 เมตร ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 3-4 เมตร เพศเมีย 8-10 เมตร ขนาดแรกเกิด 55-64 ซม. และขนาดตัวอ่อนที่พบในท้องแม่ 40-58 ซม.
-
ปลาฉลามวาฬเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลำตัวยาว รูปทรงกระบอกค่อนข้างกลม ส่วนหัวกว้าง ค่อนข้างแบนลาดลงไปทางจะงอยปากที่โค้งมน ตาเล็ก มีรูช่วยหายใจขนาดเล็ก มีหนวดขนาดเล็กที่จมูก 1 คู่ มีร่องตื้นต่อเชื่อมระหว่างปากและจมูก มีปากใหญ่ อยู่ในตำแหน่งเกือบหน้าสุด ช่องเปิดเหงือกใหญ่มาก มีเหงือกจำนวน 5 คู่ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน และกรองแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ลำตัวส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหลังมีสีเทา และมีจุดประสีขาวอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งลักษณะการกระจายตัวของจุดประเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการระบุตัวตนได้ (Individual Identification) ลำตัวมีสันนูนตามยาว 6-7 แถว ทำหน้าที่ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของน้ำทะเลจากการเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ และแปรผลเป็นขนาดและความเร็วของสิ่งนั้น (Shark Research Institute, 2015) ครีบอกมีขนาดใหญ่มาก ปลายเรียวและโค้ง ครีบหลังอันเเรกมีจุดเริ่มอยู่หน้าครีบท้อง มีขนาดใหญ่กว่าครีบหลังอันที่สองและครีบท้อง คอดหางเป็นสันแข็งทางด้านข้าง ครีบหางเป็นรูปตัววีหรือพระจันทร์เสี้ยว แพนครีบหางตอนบนไม่มีรอยหยักที่ปลาย จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน มีความยาวตลอดตัวมากถึง 18.8 เมตร
-
- ขนาดความยาว สูงสุด 2,140 ชม. (21.4 เมตร) ขนาดทั่วไปที่พบ 5-10 เมตร ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 3-4 เมตร เพศเมีย 8-10 เมตร ขนาดแรกเกิด 55-64 ชม. และขนาดตัวอ่อนที่พบในท้องแม่ 40-58 ชม.
- จมูกมีหนวดสั้น รูช่วยหายใจเล็กกว่าตา ปากกว้างอยู่เกือบปลายสุดของจะงอยปาก ฟันขนาดเล็กมากรูปร่างเหมือนกันซึ่งมีปลายแหลมงุ้มคล้ายตะขอ มีสันนูนหลายแถวข้างลำตัว ครีบหลังอันแรกมีจุดเริ่มต้นอยู่หน้าจุดเริ่มต้นครีบท้อง คอดหางแบนลงมีสันแข็งทางด้านข้าง มีร่องที่ด้านบนคอดหาง ครีบหางเป็นรูปตัววีหรือพระจันทร์เสี้ยว ไม่มีรอยบากใต้แพนครีบหางตอนบน ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีจุดสีขาวกระจายเป็นแนวเส้นพาดขวางทั่วทั้งตัว และด้านท้องสีขาว
- เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ได้มากถึงครั้งละ 300 ตัว โดยตัวอ่อนได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง ไข่ในท้องก่อนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อนมีขนาดใหญ่ (ยาว 30 ชม. กว้าง 14 ชม. และหนา 9 ชม.) ปลาที่โตเต็มวัยมีอายุ 60-100 ปี (อายุสูงสุดอาจถึง 150 ปี) และสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 30 ปี ส่วนใหญ่กินแพลงก์ตอนสัตว์ พวกปลาผิวน้ำขนาดเล็ก ลูกปลาหมึก ลูกกุ้งและลูกปู เป็นอาหารโดยการกรองผ่านซี่กรองของเหงือก
-
ระบบนิเวศ :
-
บริเวณผิวน้ำถึงกลางน้ำตั้งแต่ชายฝั่งทะเล แนวปะการัง ไปจนถึงในมหาสมุทรที่ระดับความลึกน้ำ 1,928 เมตร เป็นปลาที่มีการอพยพเป็นระยะทางไกลระหว่างมหาสมุทร ซึ่งในเขตน่านน้ำไทยพบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
-
Marine
-
Marine
-
บริเวณผิวน้ำถึงกลางน้ำตั้งแต่ชายฝั่งทะเล แนวปะการัง ไปจนถึงในมหาสมุทรที่ระดับความลึกน้ำ 1,928 เมตร
-
การกระจายพันธุ์ :
-
เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัวได้มากถึงครั้งละ 300 ตัว โดยตัวอ่อนได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง ไข่ในท้องก่อนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อนมีขนาดใหญ่ (ยาว 30 ซม. กว้าง 14 ซม. และหนา 9 ซม.) ปลากที่โตเต็มวัยมีอายุ 60-100 ปี (อายุสูงสุดอาจถึง 150 ปี)
-
circum-tropical
-
ปลาฉลามวาฬพบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ในทะเลเขตร้อนถึงเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลตั้งแต่ 18-30 องศาเซลเซียส อย่างมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อเมริกา เม็กซิโก บราซิล แอฟริกาใต้ อินเดีย ไทย มาเลเซีย
สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ จนถึง
ออสเตรเลีย ส่วนในน้ำน่านไทยพบทั้งในทะเลอันดามันและอ่าวไทย พบอาศัยบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำในทะเลเปิดทั่วไป บางครั้งอาจหลงเข้าตามชายฝั่งที่มีน้ำตื้น มีรายงานพบปลาฉลามวาฬดำน้ำลงไปได้ลึกมากกว่า 980 เมตร ซึ่งมีอุณหภูมิน้ำต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส โดยนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุชัดว่าเพื่อหาอาหาร หลบศัตรู หรือเพื่อจุดประสงค์ใด ปลาฉลามวาฬเป็นปลาที่มีการอพยพเป็นระยะทางไกล ระหว่างมหาสมุทร ไกลสุดถึง 13,000 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลามากกว่า 36 เดือน
-
เป็นปลาที่มีการอพยพเป็นระยะทางไกลระหว่างมหาสมุทร ซึ่งในเขตน่านน้ำไทยพบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
-
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
-
การขยายพันธุ์ :
-
สืบพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 30 ปี ส่วนใหญ่กินแพลงก์ตอนสัตว์ พวกปลาผิวน้ำขนาดเล็ก ลูกปลาหมึก ลูกกุ้งและลูกปูเป็นอาหารโดยการกรองผ่านซี่กรองของเหงือก
-
ปลาฉลามวาฬมีอัตราการเจริญเติบโตช้า มีอัตราการตายตามธรรมชาติร้อยละ 5-6 มีอายุยืน 60-100 ปี ปลาฉลามวาฬตัวผู้เริ่มเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 30 ปี ความยาวตัว 6-9 เมตร ตัวเมีย 20 ปี ความยาวตัว 8-10 เมตร ออกลูกเป็นไข่ซึ่งจะฟักออกเป็นตัวและพัฒนาอยู่ภายในตัวแม่ (Ovoviviparous) โดยตัวอ่อนได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดงจนกระทั่งคลอดออกมาเป็นตัวคล้ายตัวเต็มวัย ลูกปลาฉลามวาฬแต่ละคลอกอาจมีจำนวนมากถึง 300 ตัว ลูกปลาฉลามวาฬแรกเกิดมีความยาวประมาณ 0.5-0.6 เมตร
-
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ภูเก็ต, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน
-
ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี,ตราด,สมุทรสาคร,เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ชุมพร,สุราษฎร์ธานี,นครศรีธรรมราช,สงขลา,ปัตตานี,นราธิวาส,ระนอง,พังงา,ภูเก็ต,กระบี่,ตรัง,สตูล