Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Rapanea porteriana
Rapanea porteriana
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Rapanea porteriana
(Wall. ex A.DC.) Mez
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
รังกะแท้
-
โพรงนก
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Ericales
วงศ์::
Primulaceae
สกุล:
Myrsine
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
30 มิ.ย. 2564 18:38 น.
วันที่สร้าง:
30 มิ.ย. 2564 18:38 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 3-10 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบถึงแตกเป็นสะเก็ดสีเทา กิ่งแขนงเล็กเรียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ซม. (วัดจากปลายกิ่ง ลงมา 10 ซม.)
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปหอกกลับ ขนาด 2-4x4-10 ซม. โคนใบรูปลิ่มถึงแหลม ขอบใบเรียบ มักม้วนลง ปลายใบทู่ถึงเว้าตื้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก มองเห็นไม่ชัดเจน เส้นกลางใบแบนราบถึงยกตัวเล็กน้อย เส้นแขนง 8-10 คู่ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างซีด มีจุดประเล็กๆ สีเขียวถึงดำกระจายทั่วแผ่นใบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 0.3-0.8 ซม. ด้านบนราบ สีน้ำตาลถึงน้ำตาลเหลือง
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้านอัดกันแน่นคล้ายช่อซี่ร่มบนแกนช่อดอกรูปทรงกรวยสั้นๆ ออกตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบของกิ่งแขนง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวอมม่วง มีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อย ยาว 0.3-0.4 ซม. ดอกเพศผู้แฉกกลีบเลี้ยงรูปไข่ถึงรูปมนกลม แฉกลีบดอกรูปใบหออับเรณูรูปไข่ ดอกเพศเมียเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันจะเชื่อมติดกับส่วนล่างของแฉกกลีบดอก รังไข่กว้าง รูปทรงกลม ผิวเกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกเรียว 2-3 แฉก ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ผล แบบผลเมล็ดเดียวแข็ง มีเนื้อนุ่ม รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่เป็นติ่ง แต่ละช่อดอกติดผลประมาณ (1-)3-5 ผล ก้านผลเล็กเรียว ยาว 0.5-1.0 ซม. ผลอ่อนสีเขียวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู ผลสุกสีน้ำเงินคล้ำถึงดำ มี 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
-
ประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
ที่มาของข้อมูล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
ราสพ์เบอรี่
Rubus idaeus
Frullania claviloba
ตังหนใบหนีบ
Calophyllum teysmannii
Aglaomorpha parishii
Daemonorops lewisiana
Amorphophallus napiger
Previous
Next