Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Radermachera ignea
Radermachera ignea
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Radermachera ignea
(Kurz) Steenis
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Mayodendron igneum (Kurz) Kurz
- Spathodea ignea Kurz
ชื่อสามัญ::
-
Tree jasmine
ชื่อไทย::
-
กาสะลองคำ
ชื่อท้องถิ่น::
-
กากี แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ป
-
กากี (สุราษฎร์ธานี) แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง) จางจืด (เชียงใหม่) สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ปีบทอง (ภาคกลาง) อังเกียลโบ๊ะ (เขมร)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Lamiales
วงศ์::
Bignoniaceae
สกุล:
Radermachera
วันที่อัพเดท :
17 ส.ค. 2563 09:21 น.
วันที่สร้าง:
17 ส.ค. 2563 09:21 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 6-20 เมตร ลำต้นเปลา ทรงแคบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามใบย่อย 2-5 คู่ รูปรีแกมหอก หรือขอบใบขนานแกมหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายเป็นติ่งโคนแหลม ดอก สีเหลืองทองหรืออมส้ม ออกเป็นกระจุกที่กิ่งและลำต้น กระจุกละ 5-10 ดอก ทยอยบาน กลีบรองกลีบดอกเป็นถ้วยสีม่วงอมแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4.5-7 ซม. ส่วนกลางป่องเป็นกระเปาะ ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. เกสรผู้ 4 อัน ผล เป็นฝักยาว 35-90 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
-
ทรงพุ่มโปร่ง มักแตกกิ่งก้านสาขาที่ระดับความสูงประมาณ 2 ม. ขึ้นไป
-
ไม้ต้น สูง 10–15 ม. ใบประกอบ 2–3 ชั้น ยาว 18–60 ซม. ใบประกอบย่อยมี 3–4 คู่ ใบย่อย 3–5 คู่ รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5–12 ซม. เบี้ยว มักมีต่อมที่โคนด้านหลังใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตามลำต้นและกิ่ง มี 5–13 ดอก ดอกสีส้ม ก้านดอกยาว 0.5–1 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันประมาณกึ่งหนึ่งคล้ายกาบ หลอดกลีบยาว 1.5–2 ซม. ดอกรูปกรวย ยาว 4.5–7 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปกลม ยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้มีขน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4.5 ซม. แกนอับเรณูปลายเป็นติ่งแหลม ฝักยาว 30–45 ซม.
-
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 6-20 เมตร ลำต้นเปลา ทรงแคบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามใบย่อย 2-5 คู่ รูปรีแกมหอก หรือขอบใบขนานแกมหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายเป็นติ่งโคนแหลม ดอก สีเหลืองทองหรืออมส้ม ออกเป็นกระจุกที่กิ่งและลำต้น กระจุกละ 5-10 ดอก ทยอยบาน กลีบรองกลีบดอกเป็นถ้วยสีม่วงอมแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4.5-7 ซม. ส่วนกลางป่องเป็นกระเปาะ ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. เกสรผู้ 4 อัน ผล เป็นฝักยาว 35-90 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
การกระจายพันธุ์ :
-
พบตามธรรมชาติทั่วไป โดยเฉพาะบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน
-
พบตามธรรมชาติทั่วไป โดยเฉพาะบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ถิ่นกำเนิด :
-
ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ :
-
การตอน การปักชำ แต่ที่นิยมคือ การเพาะเมล็ดเองจากต้น
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเวียงหล้า
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยหลวง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่จริม
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
-
แม่ฮ่องสอน
-
แพร่
-
อุตรดิตถ์
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,ปลูกเป็นไม้ประดับ
ที่มาของข้อมูล
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Selaginella pubescens
Goodyera bifida
Oenanthe stolonifera
Erythrina corallodendron
Strobilanthes pateriformis
Curcuma myanmarensis
Previous
Next