Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Quercus kingiana
Quercus kingiana
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Quercus L.
Status:
ACCEPTED
ชื่อสามัญ::
-
-
ชื่อท้องถิ่น::
-
ก่อแดง
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fagales
วงศ์::
Fagaceae
สกุล:
Quercus
วันที่อัพเดท :
23 ก.ค. 2563 09:38 น.
วันที่สร้าง:
23 ก.ค. 2563 09:38 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น
-
ไม้ต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 7 – 30 เมตร ขนาดวัดรอบ 60 – 200 เซนติเมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง มีช่องอากาศกระจาย ใบ: ใบ รูปขอบขนาน รูปรี รูปไข่ ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 20 เซนติเมตรโคนมน สอบแคบเล็กน้อยและมักเบี้ยว ปลายแหลมทู่ ขอบใบจกฟันเลื่อย แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านบนใบอ่อนมีขนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางมมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบๆนูนเด่นทางด้านล่าง และถูกกดเป็นร่องทางด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 9 -14 เส้น ค่อนข้างตรงไปสูปลายจักขอบใบ เส้นใบย่อยแบบขั้นบันไดเห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1 – 2 – (4) เซนติเมตร เมื่ออ่อนมีขนนุ่ม ดอก: ดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อแต่ร่วมต้น ออกตามง่ามใบหรือเหนือแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกเพศผู้เป็นช่อแบบหางกระรอก เป็นช่อเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ช่อห้อยลง ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลแกมเขียว ติดกระจายเป็นกระจุกๆละ 3 หรือ 4 ดอก กลีบยาวประมาณ 1/5 ของความยาวกลีบ มีขนนุ่มทางด้านนอก และมีขนอยู่ตามขอบแฉก เกสรเพศผู้ 6 – 8 อัน มีขนที่โคนก้านอับเรณู ไม่มีรังไข่เทียม ช่อดอกเพศเมียไม่แยกแขนง ช่อชี้ตรง ยาว 1 – 3 เซนติเมตร แต่ละช่อดอกติดกระจาย 3 – 10 ดอก ลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพสผู้ มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 6 อัน หรืออาจไม่มี รังไข่รูปป้อม มีขนหรือเกล็ดคลุมแน่น มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียปลายถ่างแยกออกจากกัน 3 อัน เป็นติ่งที่ปลาย
ผล: ผล รูปกรวยหงาย รูปไข่ หรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 – 3.5 เซนติเมตร (รวมทั้งกาบหุ้ม) ก้านผลเห็นไม่ชัด ติดกระจายหรือชิดกันบนช่อที่ยาว 1 – 4 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 1 – 5 ผล กาบไม่เชื่อมติดกันและไม่แยกเมื่อผลแก่จัด กาบหุ้มผลรูปกรวยหงาย หุ้ม 3/4 ถึง 5/ 6 ของความยาวตัวผล ผิวกาบเป็นเกล็ดหนา ปลายแหลมและงุ้มเข้าหาตัวผล ติดเรียงสลับ แต่ละกาบมีผล 1 ผล รูปกลมแป้น หรือรูปไข่กว้าง
เปลือก: กระจาย เปลือกละต้นสีน้ำตาลเข้ม และมีประสีเทาอ่อนเป็นหย่อมๆ แตกเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองแก่ สีชมพูเรื่อหรือสีน้ำตาลแดง ผิวด้านในมีสันแข็งตามยาวกดเนื้อไม้ กระพี้สีน้ำตาลอ่อน ผิวถูกกดเป็นร่องรูปเข็มกระจาย แก่นสีน้ำตาลเข้ม
-
ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 7 – 30 เมตร ขนาดวัดรอบ 60 – 200 เซนติเมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง มีช่องอากาศกระจาย ใบ: ใบ รูปขอบขนาน รูปรี รูปไข่ ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 20 เซนติเมตรโคนมน สอบแคบเล็กน้อยและมักเบี้ยว ปลายแหลมทู่ ขอบใบจกฟันเลื่อย แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านบนใบอ่อนมีขนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางมมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบๆนูนเด่นทางด้านล่าง และถูกกดเป็นร่องทางด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 9 -14 เส้น ค่อนข้างตรงไปสูปลายจักขอบใบ เส้นใบย่อยแบบขั้นบันไดเห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1 – 2 – (4) เซนติเมตร เมื่ออ่อนมีขนนุ่ม ดอก: ดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อแต่ร่วมต้น ออกตามง่ามใบหรือเหนือแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกเพศผู้เป็นช่อแบบหางกระรอก เป็นช่อเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ช่อห้อยลง ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลแกมเขียว ติดกระจายเป็นกระจุกๆละ 3 หรือ 4 ดอก กลีบยาวประมาณ 1/5 ของความยาวกลีบ มีขนนุ่มทางด้านนอก และมีขนอยู่ตามขอบแฉก เกสรเพศผู้ 6 – 8 อัน มีขนที่โคนก้านอับเรณู ไม่มีรังไข่เทียม ช่อดอกเพศเมียไม่แยกแขนง ช่อชี้ตรง ยาว 1 – 3 เซนติเมตร แต่ละช่อดอกติดกระจาย 3 – 10 ดอก ลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพสผู้ มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 6 อัน หรืออาจไม่มี รังไข่รูปป้อม มีขนหรือเกล็ดคลุมแน่น มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียปลายถ่างแยกออกจากกัน 3 อัน เป็นติ่งที่ปลาย
ผล: ผล รูปกรวยหงาย รูปไข่ หรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 – 3.5 เซนติเมตร (รวมทั้งกาบหุ้ม) ก้านผลเห็นไม่ชัด ติดกระจายหรือชิดกันบนช่อที่ยาว 1 – 4 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 1 – 5 ผล กาบไม่เชื่อมติดกันและไม่แยกเมื่อผลแก่จัด กาบหุ้มผลรูปกรวยหงาย หุ้ม 3/4 ถึง 5/ 6 ของความยาวตัวผล ผิวกาบเป็นเกล็ดหนา ปลายแหลมและงุ้มเข้าหาตัวผล ติดเรียงสลับ แต่ละกาบมีผล 1 ผล รูปกลมแป้น หรือรูปไข่กว้าง
เปลือก: กระจาย เปลือกละต้นสีน้ำตาลเข้ม และมีประสีเทาอ่อนเป็นหย่อมๆ แตกเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองแก่ สีชมพูเรื่อหรือสีน้ำตาลแดง ผิวด้านในมีสันแข็งตามยาวกดเนื้อไม้ กระพี้สีน้ำตาลอ่อน ผิวถูกกดเป็นร่องรูปเข็มกระจาย แก่นสีน้ำตาลเข้ม
ระบบนิเวศ :
-
ตามป่าเบญจพรรณ,ป่าหญ้า,ป่าสน,ป่าดิบเขาที่มีหินปูนและหินแกรนิตเป็นฐาน ที่สูงระหว่าง (500) 700 – 1,000 (2,100) เมตร
-
ตามป่าเบญจพรรณ,ป่าหญ้า,ป่าสน,ป่าดิบเขาที่มีหินปูนและหินแกรนิตเป็นฐาน ที่สูงระหว่าง (500) 700 – 1,000 (2,100) เมตร
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA1022029
1022029
2
PRJNA481130
481130
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Scenedesmus acuminatus
Alchornea tiliifolia
Digitaria radicosa
Didymocarpus purpureo-pictus
Guilandina bonduc
Bulbophyllum peninsulare
Previous
Next