Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Plectranthus amboinicus
Plectranthus amboinicus
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Plectranthus amboinicus
(Lour.) Spreng.
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
Indian borage, Country borage, Oreille, Oregano
ชื่อไทย::
-
เนียมหูเสีย
-
เนียมหูเสือ
ชื่อท้องถิ่น::
-
ใบหูเสือ หอมด่วนหลวง หอมด่วน
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Lamiales
วงศ์::
Lamiaceae
สกุล:
Coleus
วันที่อัพเดท :
17 ส.ค. 2563 09:43 น.
วันที่สร้าง:
17 ส.ค. 2563 09:43 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
พืชล้มลุกอายุหลายปี สูง ๓๐ – ๙๐ ซม. ทุกส่วนอวบนํ้า มีนํ้ามัน หอมระเหย และมีขนอ่อนๆ ปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แบบสลับ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อรอบแกนช่อที่ปลายยอด ยาว ๑๐ – ๒๐ ซม. สีม่วงอ่อน ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำต้น
-
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ต้นและใบฉ่ำน้ำ ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวติดตรงกันข้าม ทั้งต้นมีกลิ่นหอม ใบหนาฉ่ำน้ำ ก้านใบยาว ใบรูปไข่กว้าง โคนใบทู่ หรือเกือบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบมน ใบด้านบนสีเขียว เส้นใบลึกเป็นร่องๆ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ กลีบบนรูปไข่ ปลายแหลม กลีบล่างปลายสอบแหลม กลีบดอกเป็นท่อสั้น ปลายบานออก
-
พืชล้มลุกอายุหลายปี สูง ๓๐ – ๙๐ ซม. ทุกส่วนอวบนํ้า มีนํ้ามัน หอมระเหย และมีขนอ่อนๆ ปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แบบสลับ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อรอบแกนช่อที่ปลายยอด ยาว ๑๐ – ๒๐ ซม. สีม่วงอ่อน ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำต้น
การกระจายพันธุ์ :
-
เป็นพืชท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบที่ไทย ลาว พม่า กัมพูชา แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น อินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมถึงบางประเทศในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สรรพคุณตามตำราไทย ใบ ใบต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำที่คั้นจากใบหรือน้ำต้มใบใช้เป็นน้ำกระสายยา ใบตากแห้งใช้มวนยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก เข้าตำรับยา อยู่ไฟ ออกไฟ และใช้ปิดฝาหม้อต้มยาแก้ผิดเดือน(อาการเลือดลมไม่ปกติในสตรี) ราก แก้ร้อนใน เหง้า ผ่าเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 3×3 นิ้ว ย่างไฟให้ร้อนห่อด้วยผ้าประคบบริเวณที่ปวด โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะข้างเดียว ต้น เผาไฟแล้วบีบเอาน้ำผสมน้ำนึ่งข้าวนำมาประคบแก้ปวดแขนปวดขา
:
-
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนจีน รสตัวยาสมุนไพร รสฝาดเย็น ลักษณะเครื่องยา กล้วยตีบเป็นรากใต้ดินแห้งรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน ผิวด้านนอกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เมื่อตัดเนื้อด้านในสีอ่อนกว่า บางชิ้นมีรากแขนงแซมอยู่ ไม่มีกลิ่น
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Fissistigma glaucescens
Acroporium tubulosum
Pseuduvaria phuyensis
Stichorkis gibbosa
Typhonium bognerianum
Microsorum siamense
Previous
Next