Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Mussaenda philippica
Mussaenda philippica
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Mussaenda philippica
‘Queen Sirikit’
Status:
ACCEPTED
ชื่อไทย::
-
ดอนย่าขาว
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Gentianales
วงศ์::
Rubiaceae
สกุล:
Mussaenda
วันที่อัพเดท :
7 ส.ค. 2562 00:00 น.
วันที่สร้าง:
7 ส.ค. 2562 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
นนทบุรี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่เกษตรกรรมริมน้ำนนทบุรีและเกาะเกร็ด
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรี ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อมีใบประดับ ขนาดใหญ่สีชมพูอ่อน ขลิบขอบด้วยสีชมพูเข้มเกือบแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 7 ม. มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก กลีบเลี้ยง ประดับ และกลีบดอก หูใบปลายแยกเป็น 2 แฉก ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่ ยาวได้ถึง 15 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยง 5 กลีบขยายเป็นแผ่นคล้ายกลีบดอก สีชมพู ยาว 1.2–5 ซม. ดอกรูปดอกเข็ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีเหลือง รูปรีกว้าง สั้นกว่าหลอดกลีบดอก กลางกลีบเป็นสัน ปลายมีติ่งแหลม เกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเป็นลูกผสมระหว่างดอนย่าแดงสายพันธุ์ M. erythrophylla ‘Dona Trining’ ลูกผสมจากสายพันธุ์แอฟริกา กลีบเลี้ยงสีแดง มีกลีบเดียวที่ขยายเป็นแผ่น และดอนย่าขาวสายพันธฺุ์ M. philippica ‘Aurorae’ ลูกผสมสายพันธุ์ของฟิลิปปินส์ กลีบเลี้ยงสีขาว ทั้ง 5 กลีบขยายเป็นแผ่น สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 1948 ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ และได้รับตั้งชื่อเป็นสายพันธุ์ ‘Queen Sirikit’ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ที่เสด็จเยือนฟิลิปปินส์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970
ที่มาของข้อมูล
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
โกฐก้านพร้าว
Picrorhiza kurrooa
เอื้องศรีอาคเนย์
Sirindhornia monophylla
Cyanotis vaga
Habenaria stenopetala
Coccinia uvifera
Digitaria setigera
Previous
Next