Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Melaleuca cajuputi
Melaleuca cajuputi
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Melaleuca cajuputi
Powell
Status:
ACCEPTED
ชื่อสามัญ::
-
Cajeput tree, Milk wood, Paper bark tree
ชื่อไทย::
-
เสม็ดขาว
-
เสม็ด
ชื่อท้องถิ่น::
-
เม็ด เหม็ด (ภาคใต้) กือแล (มลายู-ปัตตานี)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Myrtales
วงศ์::
Myrtaceae
สกุล:
Melaleuca
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
30 มิ.ย. 2564 18:59 น.
วันที่สร้าง:
30 มิ.ย. 2564 18:59 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองปะเหลียนและป่าคลองท่าบ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
บรรยายลักษณะต้น:ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 5-25 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักบิดงอ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันวาวคล้ายไหมปกคลุม ใบ:ใบ เดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีถึงรูปรีแกมรูปใบหอก โคนใบแหลมถึงทู่แคบๆ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เส้นใบแบบร่างแหนิ้วมือ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านดอก:ดอก แบบช่อเชิงลดไม่มีก้าน ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกคล้ายแปลงล้างขวด ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้านดอก ออกเป็นกระจุก 1-3 ดอก ติดรอบแกนช่อ ใบประดับรูปใบหอก หลุดร่วงง่าย แผ่นใบมีขนคล้ายไหมปกคลุม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ทู่ มีขนคล้ายไหมปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ รูปซ้อนแกมรูปไข่กลับ แยกกันเป็นอิสระ หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเรียว โคนก้านเชื่อมติดกันเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยเกสรเพศผู้ 7-9 อัน เรียงอยู่ด้านหน้ากลีบดอก ยอดเกสรเพศเมียเรียว รูปแถบ ผล:ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงถ้วย ผนังหนา แข็ง ผลแก่จะแตกที่ปลายผลเป็น 3 แฉก เมล็ดจำนวนมาก เปลือก:เปลือกสีขาว ถึงน้ำตาลเทา หนา นุ่ม อื่นๆ:
ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 5-25 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักบิดงอ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันวาวคล้ายไหมปกคลุม
ใบ เดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีถึงรูปรีแกมรูปใบหอก โคนใบแหลมถึงทู่แคบๆ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เส้นใบแบบร่างแหนิ้วมือ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอก แบบช่อเชิงลดไม่มีก้าน ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกคล้ายแปลงล้างขวด ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้านดอก ออกเป็นกระจุก 1-3 ดอก ติดรอบแกนช่อ ใบประดับรูปใบหอก หลุดร่วงง่าย แผ่นใบมีขนคล้ายไหมปกคลุม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ทู่ มีขนคล้ายไหมปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ รูปซ้อนแกมรูปไข่กลับ แยกกันเป็นอิสระ หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเรียว โคนก้านเชื่อมติดกันเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยเกสรเพศผู้ 7-9 อัน เรียงอยู่ด้านหน้ากลีบดอก ยอดเกสรเพศเมียเรียว รูปแถบ
ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงถ้วย ผนังหนา แข็ง ผลแก่จะแตกที่ปลายผลเป็น 3 แฉก เมล็ดจำนวนมาก
เปลือกสีขาว ถึงน้ำตาลเทา หนา นุ่ม
-
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. เปลือกคล้ายฟองน้ำลอกเป็นชั้น ๆ มีขนคล้ายไหมสีขาวตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน ก้านใบ ใบประดับ ฐานดอก และกลีบเลี้ยง ไม่มีหูใบ ใบเรียงเวียน รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5.5–15 ซม. เบี้ยวเล็กน้อยคล้ายรูปเคียว เส้นโคนใบข้างละ 1–3 เส้น เป็นสันนูน ก้านใบยาว 2–4 มม. แบน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ยาว 6–17 ซม. ปลายช่อมักแทงเป็นยอดใหม่ ดอกออกเป็นกระจุก 1–3 ดอก ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ดอกไร้ก้าน ฐานดอกรูปไข่ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาว 1–2 มม. ติดทน กลีบดอกสีขาวรูปกลม ยาว 2–3 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดเป็น 5 กลุ่มตรงข้ามกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. แกนอับเรณูปลายเป็นต่อม รังไข่ใต้วงกลีบ ปลายมีขนคล้ายไหม ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ยอดเกสรรูปเส้นด้าย ผลแห้งแตกเป็น 3 ซีก รูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 2–3 มม. มีหลายเมล็ด เรียวแคบ ยาวประมาณ 1 มม.
-
เป็นไม้ขนาดเล็กถึงใหญ่ สูง 5-25 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักบิด เปลือกสีขาวถึงน้ำตาลเทา เป็นแผ่นคล้ายกระดาษบางๆ ซ้อนกันเป็นปึก หนา นุ่ม เปลือกชั้นในบาง สีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันคล้ายเส้นไหม มักขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ ในที่ลุ่มน้ำขังด้านหลังป่าชายเลน และมักพบกระจายในเขตป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงน้อย โดยมีขนาดไม่ใหญ่นัก
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปหอก หรือรูปรี ขนาด 1.5-4x5-10 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ไปจรดกันที่ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยง ยกเว้นใบอ่อน ซึ่งมีขนยาว เป็นมัน ก้านใบยาว 0.3-1 ซม. มีขนยาวนุ่มปกคลุม
ดอก แบบช่อเชิงลดไร้ก้าน ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกคล้ายแปรงล้างขวดขนาด 5-15x2-2.5 ซม. ออกเป็นช่อยาว 3-9 ซม. ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกเล็กสีขาวจำนวนมาก กลีบเลี้ยงยาว 0.3 ซม. โคนกลีบติดกัน กลีบดอกยาว 0.2-0.3 ซม. รูปช้อนแกมรูปไข่กลับ ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกเป็นพู่ ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม และ สิงหาคม-พฤศจิกายน
ผล เป็นผลแห้งแตก รูปทรงถ้วปลายปิด ขนาดเล็ก แป้น กว้างยาวประมาณ 0.4 ซม. ผลแก่ระหว่างเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน
-
ไม้ต้น
การกระจายพันธุ์ :
-
พบขึ้นในพื้นที่พรุตามชายหาด แนวป่าชายเลน ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ผลแก่ระหว่างเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
-
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น (Tree)
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,สมุนไพร,เครื่องสำอางค์,เชื้อเพลิง,ใบรับประทานได้ ใช้ทำธูปไล่ยุง ใช้ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ และยังสามารถกลั่นน้ำมันออกมาใช้ประโยชน์ได้
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA700137
700137
2
PRJNA674705
674705
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
กระดูกไก่
Aeschynanthus acuminatus
Solanum xanthocarpum
ซ่า
Dangila lineatus
Cryptocarya concinna
Orchipedum plantaginifolium
ว่านธรณีสาร
Phyllanthus pulcher
Previous
Next