Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Ludwigia adscendens
Ludwigia adscendens
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Ludwigia adscendens
(L.) H.Hara
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Ludwigia mauritiana C.Presl
ชื่อสามัญ::
-
Phaeng phuai
ชื่อไทย::
-
แพงพวยน้ำ
-
ผักแพงพวย
-
แพงพวย
ชื่อท้องถิ่น::
-
ผักแผง ผักปอดน้ำ
-
ผักแผง ผักปอดน้ำ (อุบลราชธานี) ผักปอน้ำ (ภาคเหนือ) ผักพังพวย แพงพวย (ภาคกลาง)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Myrtales
วงศ์::
Onagraceae
สกุล:
Ludwigia
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงล่าสุด :
30 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
17 ส.ค. 2563 09:29 น.
วันที่สร้าง:
17 ส.ค. 2563 09:29 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
เป็นพืชทดเลื้อยไปตามพื้นน้ำ ลำต้น อวบน้ำ ชูยอดขึ้นสูงได้ถึง 30 ซม. รากเป็นแบบรากพิเศษ เกิดตามข้อที่มีทั้งรากปกติและรากที่เป็นเนื้อเยื่อสีขาวเพื่อพยุงลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรอบต้น รูปไข่กว้าง 1- 1.5 ซม. ยาวได้ถึง 4 ซม. ผิวใบเกลี้ยงมัน ดอกสีขาว เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ขนาดผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม.กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉกกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กลับ โคนกลีบสีเหลือง ปลายกลีบเว้าตรงกลางเล็กน้อย เกสรผู้ 10 อัน รังไข่มีไข่จำนวนมาก ผล แห้งแล้วแตก รูปกระบองยา 2-3.5 ซม. ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดรูป รียาว 1-1.3 มม.
-
บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุกลำต้นทอดเลื้อยเหนือน้ำ ยอดชูพ้นน้ำใบ:ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนและปลายใบมน ดอก:ดอกเดี่ยวออกที่ง่ามใบ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกสีเข้ม ผล:ผลรูปทรงกระบอกเรียว เปลือก:อื่นๆ:
ไม้ล้มลุกลำต้นทอดเลื้อยเหนือน้ำ ยอดชูพ้นน้ำ
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนและปลายใบมน
ดอกเดี่ยวออกที่ง่ามใบ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกสีเข้ม
ผลรูปทรงกระบอกเรียว
-
ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยบนพื้นดินหรือลอยน้ำ ยาวได้กว่า 4 ม. ลำต้นอวบน้ำ มีรากตามข้อ ต้นที่ลอยน้ำมีรากหายใจรูปกระสวย แตกกิ่งจำนวนมาก มีขนยาว ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบพาย ยาวได้ถึง 7 ซม. ก้านใบยาว 0.5–2 ซม. ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 0.5–1 ซม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาว โคนด้านในสีเหลือง กลีบรูปไข่กลับ ยาว 1–1.8 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2.5–4 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 เท่า ผลรูปทรงกระบอก ยาว 1.2–2.7 ซม. มีสันตามยาว เกลี้ยงหรือมีขน ก้านผลยาวได้ถึง 5.5 ซม. เมล็ดเรียงแถวเดียว (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ หญ้ารักนา, สกุล)
-
ไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ
-
เป็นพืชทดเลื้อยไปตามพื้นน้ำ ลำต้น อวบน้ำ ชูยอดขึ้นสูงได้ถึง 30 ซม. รากเป็นแบบรากพิเศษ เกิดตามข้อที่มีทั้งรากปกติและรากที่เป็นเนื้อเยื่อสีขาวเพื่อพยุงลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรอบต้น รูปไข่กว้าง 1- 1.5 ซม. ยาวได้ถึง 4 ซม. ผิวใบเกลี้ยงมัน ดอกสีขาว เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ขนาดผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม.กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉกกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กลับ โคนกลีบสีเหลือง ปลายกลีบเว้าตรงกลางเล็กน้อย เกสรผู้ 10 อัน รังไข่มีไข่จำนวนมาก ผล แห้งแล้วแตก รูปกระบองยา 2-3.5 ซม. ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดรูป รียาว 1-1.3 มม.
การกระจายพันธุ์ :
-
พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ขึ้นบนดินโคลนตามข้างทาง ทุ่งนา หรือบึง ออกดอกตลอดปี ปลูกเป็นไม้น้ำประดับได้
-
พบขึ้นตามที่ราบลุ่มและริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และชายป่าดิบแล้ง
-
พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ขึ้นบนดินโคลนตามข้างทาง ทุ่งนา หรือบึง ออกดอกตลอดปี ปลูกเป็นไม้น้ำประดับได้
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
ป่าสงวนแห่งชาติป่าสีสุก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร ประดับได้ ดอกถ้ามีในปริมาณมากจะให้ความสวยงาม แต่มีเพียงเป็นบางฤดู
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Huperzia piscium
กุหลาบ
Rosa chinensis
Microchirita hamosa
กระถินเงิน
Acacia colei
มะคาเดเมีย
Macadamia integrifolia
Cornopteris opaca
Previous
Next