-
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
-
ลักษณะลำตัวสีน้ำตาลเทา มีลายเลอะแต้มบนหลัง แขนเรียวยาว ขาสั้น ครึ่งตาบนมีสีแสด ท้องสีขาวแต้มจุดประสีดำ
-
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
อึ่งกรายลายเลอะเป็นอึ่งกรายขนาดกลาง ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 4-8 เซนติเมตร หัวกว้างกว่าลำตัว สันจมูกชัด รูปร่างหนา หน้าอกมีต่อมเป็นตุ่มนูนสีขาวบริเวณโคนขาหน้าข้างละ 1 ต่อม ดูคล้ายหัวนม แขนยาว แต่ขาหลังค่อนข้างสั้นและไม่แข็งแรง ทำให้กระโดดได้ไม่ดีนัก ดวงตาสีดำครึ่งตาบนสีแดง ส้ม หรือเหลือง ลำตัวสีน้ำตาล สีน้ำตาลเทา หรือสีเทาอมขาว สามารถเปลี่ยนเป็นสีคล้ำได้เมื่อตกใจหรือเครียด มีลวดลายเลอะๆ คางและท้องสีครีมมีลายแต้มสีดำ เพศผู้ในช่วงผสมพันธุ์มีใต้คางเป็นสีคล้ำ ขาด้านบนมีลายแถบขวางสีน้ำตาลเข้ม อึ่งกรายวัยเด็กมักมีสีสันสดใสกว่าอึ่งกรายที่มีอายุมากขึ้นสีสันและลวดลายดูคล้ายกันกับอึ่งกรายลายจุดและอึ่งกรายตาขาวตะนาวศรี ประชากรทางภาคใต้ ลายใต้ท้องมักเป็นจุดประสีจาง มองเห็นลวดลายตามตัวไม่ชัดเจน ปรากฏเป็นปื้นสีคล้ำ ครึ่งตาบนมักมีสีเหลืองครีม ซึ่งพบประชากรนี้ได้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป ประชากรบนเกาะทางฝั่งอันดามัน สีลำตัวมักซีดกว่าประชากรบนแผ่นดินใหญ่ ประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักเป็นสีเทาอ่อนตลอดตัว ลายแต้มตามตัวชัดเจน ลายใต้ท้องมักเป็นปื้นขนาดใหญ่ ครึ่งตาบนมักมีสีส้มหรือสีแดงสด ลูกอ๊อดมีลักษณะลำตัวเพรียวรูปไข่ หางยาว ท้องค่อนข้างใส เห็นอวัยวะภายในได้ สีสันตามลำตัวสีน้ำตาลเทา หรือสีน้ำตาลอมส้ม ลวดลายตามลำตัวค่อนข้างไม่แน่นอน มีแต้มสีเข้มกระจายทั่วตัวและหาง บริเวณหัวมักมีแต้มขนาดใหญ่กระจายทั่ว ลูกอ๊อดบางตัวมีแค่ลายเปรอะบริเวณหัว ไม่พบลายประที่หาง หรือบริเวณอื่น
-
ระบบนิเวศ :
-
พบตัวได้ง่ายบริเวณริมลำธารหรือตามทางเดินในป่า ช่วงกลางคืน โดยพบทั้งในป่าดิบแล้ง ป่าไผ่ ป่าดิบชื้อ ไปจนถึงป่าดิบเขาระดับกลาง มักพบอึ่งกรายเต็มวัยนั่งอยู่บริเวณกองใบไม้ร่วงที่ทับถมข้างลำธาร ซอกหิน หรือบนตอไม้ล้ม บางครั้งอาจพบกลางลำห้วย ส่วนมากเป็นเพศผู้ที่ต้องการผสมพันธุ์ โดยพบร้องในช่วงฤดูหนาวและปลายฤดูฝน ช่วงฤดูฝนอาจพบอยู่ไกลจากลำธาร ตามพื้นป่า หรือใต้กองไม้ วางไข่บริเวณแอ่งน้ำข้างลำธารที่มีน้ำไหลเอื่อย ไข่ด้านหนึ่งสีขาวอีกด้านหนึ่งสีดำ วางติดกับวัสดุ เมื่อถูกพบตัวมักหมอบราบกับพื้นเพื่อพรางตัว เมื่อถูกรบกวนมักทำตัวแข็งนิ่งแสร้งตายอยู่นาน เมื่อถูกรบกวนนานๆ บางตัวอาจแอ่นตัวขึ้น และเปิดเปลือกตาเผยดวงตาสีส้มสด เพื่อข่มขวัญผู้บุกรุกให้ตกใจ อาหารได้แก่ แมลงขนาดเล็ก แมงมุม และปูขนาดเล็ก ลูกอ๊อดกินซากพืชและซากสัตว์เป็นอาหารมักพบอาศัยในลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปี ทั้งในลำธารขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีพื้นเป็นกรวดหินหรือทราบปนโคลนมีเสษใบไม้ทับถมไม่มากนัก น้ำค่อนข้างใส ลูกอ๊อดหลบซ่อนตัวใต้ก้อนหินหรือตามกรวดในเวลากลางวัน และพบออกมาหากินบริเวณน้ำตื้นริมขอบของลำธารตอนกลางคืน
-
พบอาศัยอยู่ในป่าดิบต่ำที่สมบูรณ์และป่าผสมผลัดใบ ในลำธาร โดยเฉพาะใต้กองใบไม้แห้ง การแพร่พันธุ์พบปรากฏในลำธารเล็กๆบนภูเขา ที่สะอาดและใส ระบบนิเวศ: แหล่งอาศัยบนบก, น้ำจืด
-
forest. Tadpoles inhabit in forest streams with little current.
-
ระบบนิเวศภูเขา
-
การกระจายพันธุ์ :
-
พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปางอุ๋ง ปางมะผ้า) เชียงใหม่ (ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ- ปุย ดอยเชียงดาว ดอยสะเก็ด ห้วยน้ำดัง) น่าน (ดอยภูคา ขุนน่าน) เลย (ภูหลวง) อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) กระบี่ (คลองท่อม) นครศรีธรรมราช (เขาหลวง เขานัน) ตรัง (เขาช่อง) และนราธิวาส (แว้ง)
-
พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปางอุ๋ง ปางมะผ้า) เชียงใหม่ (ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ- ปุย ดอยเชียงดาว ดอยสะเก็ด ห้วยน้ำดัง) น่าน (ดอยภูคา ขุนน่าน) เลย (ภูหลวง) อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) กระบี่ (คลองท่อม) นครศรีธรรมราช (เขาหลวง เขานัน) ตรัง (เขาช่อง) และนราธิวาส (แว้ง)
-
ทุกภาคของประเทศไทย
-
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
แม่ฮ่องสอน,เชียงใหม่,ตาก,อุทัยธานี,กาญจนบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,เลย,พังงา,นครศรีธรรมราช,กระบี่,ตรัง,สงขลา,ยะลา,นราธิวาส
-
เลย
-
อุตรดิตถ์
-
ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
-
เชียงใหม่
-
พิษณุโลก
-
สุราษฎร์ธานี, ระนอง
-
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
Mae Hong Son (Lam Nam Pai, Pa Sue Falls); Chiang Mai (Doi Chiang Dao, Doi Inthanon, Doi Saket, Doi Suthep-Pui); Tak (Thung Yai WS); Uthai Thani (Haui Khakhaeng WS);
Kanchanaburi (Erawan, Pilok, Sangkhlaburi, Thong Pa Phum);
Phetchaburi (Kaengkrachan); Prachuap Khirikhan (Haui Yang
Falls, Pa-La-U Falls); Loei (Na Haeo, Dan Sai, Phu Luang,
Phu Rue, Phu Kradung); Phangnga; Nakhon Si Thammarat
(Khao Luang); Trang (Khao Bantat, Khao Chong); Krabi
(Khao Panombencha, Khao Pra Bang Kram); Songkhla (Ton
Ngachang WS); Yala and Narathiwat (Hala-Bala WS).
-
ป่าภูหลวง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า น้ำปาด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่เลา-แม่แสะ
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา