Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Kaempferia marginata
Kaempferia marginata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Kaempferia marginata
Carey ex Roscoe
Status:
ACCEPTED
ชื่อไทย:
-
ตูบหมูบ
-
เปราะป่า
-
ตูบหมูบ ว่านตูบหมูบ (อุบลราชธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี, ชุมพร), เปราะ หัวหญิง (กระบี่), เปราะเขา เปราะป่า
-
เปราะ
ชื่อท้องถิ่น::
-
เปราะป่า
-
อีหมูบ
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Liliopsida
อันดับ:
Zingiberales
วงศ์::
Zingiberaceae
สกุล:
Kaempferia
วันที่อัพเดท :
19 มิ.ย. 2562 03:41 น.
วันที่สร้าง:
19 มิ.ย. 2562 03:41 น.
ข้อมูลทั่วไป
ระบบนิเวศ :
-
Scrub, open grasslands.
การกระจายพันธุ์ :
-
India, China, Myanmar, Laos, Cambodia.
-
พบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ต่างประเทศพบในพม่า และอินเดีย
-
พบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ต่างประเทศพบในพม่า และอินเดีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Northern,Northeastern
-
ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
-
สุรินทร์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ใบ 2 - 3 ใบ ใบแผ่ราบกับพื้นดิน ใบรูปกลมแกมรูปไข่ สีเขียว ขอบใบสีแดงคลํ้า มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ ช่อดอกออกเป็นช่อตรงกลางระหว่างใบ ใบประดับสีขาวแกมเขียว กลีบดอกและสเตมิโนดสีขาว กลีบปากสีขาวมีแต้มสีม่วงที่โคนกลีบ ปลายเว้าลึก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมีรยางค์สีขาว
-
ใบ 2 - 3 ใบ ใบแผ่ราบกับพื้นดิน ใบรูปกลมแกมรูปไข่ สีเขียว ขอบใบสีแดงคลํ้า มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ ช่อดอกออกเป็นช่อตรงกลางระหว่างใบ ใบประดับสีขาวแกมเขียว กลีบดอกและสเตมิโนดสีขาว กลีบปากสีขาวมีแต้มสีม่วงที่โคนกลีบ ปลายเว้าลึก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมีรยางค์สีขาว
-
จัดเป็นพืชลงหัวขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเหง้าสั้น และรากเป็นกระจุก หัวเปราะป่า หรือเหง้าสั้น และมีขนาดเล็ก ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องอย่างชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้ามีกลิ่นหอม รสร้อนเผ็ดและขมจัด
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
สุรินทร์
-
บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ใบ - มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น เมื่อแก่จะแผ่ราบบนหน้าดิน ใบไม่มีก้านใบ ในหนึ่งต้นจะมีใบเพียง 2 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีม่วงแดง ลักษณะของเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม หลังใบเรียบ ด้านล่างมีขน มีขนาดความกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11.5 เซนติเมตร มีกาบใบยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบที่ไม่มีใบจะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีลิ้นใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
ดอก - ช่อดอกแทงออกมาจากตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง มีกลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบรูปแถบ กลีบหลังยาว และมีขนาดกว้างกว่ากลีบข้าง โดยกลีบหลังจะมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบข้างจะกว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.4 เซนติเมตร ดอกเปราะป่ามีสีขาว กลีบดอกมีลักษณะบอบบาง มีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก มีใบประดับสีขาวอมเขียว ลักษณะเป็นรูปใบหอก กว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3.2 เซนติเมตร โดยเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันจะมีสีขาว ลักษณะเป็นรูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม มีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่กลีบปากมีสีม่วง มีแถบสีขาวอยู่ระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบแกมรูปลิ่ม กว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.2 เซนติเมตร มีปลายหยักและลึกมาก เกสตัวผู้นั้นเกือบไม่มีก้านหรืออาจมีก้านยาวเพียง 1 มิลลิเมตร ส่วนอับเรณูจะยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีรังไข่ขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตรและส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉก
ผล - ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีสีขาว แตกเป็น 3 พู ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาล
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์
-
หัวหรือเหง้าใต้ดินใช้ผสมกับตัวยาอื่นเพื่อเข้าตำรับยา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้หวัด โดยใช้หัวตำผสมกับหัวหอม ใช้สุมกระหม่อมเด็กจะช่วยบรรเทาอาการได้ ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้กำเดา โดยใช้หัวตำผสมกับหัวหอม ใช้สุมกระหม่อมเด็ก ดอกเปราะป่าช่วยแก้อาการอักเสบตาแฉะ ใช้รักษาเด็กที่ชอบนอนผวาตาเหลือกช้อนดูหลังคา น้ำคั้นจากใบและเหง้านำมาใช้ป้ายคอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ หัวมีสรรพคุรเป็นยาแก้เสมหะ ช่วยขับลมในลำไส้
-
4.1 Medicine for human (ยารักษาโรคมนุษย์)
ที่มาของข้อมูล
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
หนังสือ พรรณไม้มีคุณค่าจากป่าสาธารณะประโยชน์ บ้านทำนบ, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น, กองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พืชสมุนไพร ป่าชุมชนตะลุมพุก, โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่รอบป่ามรดกโลก "ดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ฝั่งตะวันออก, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Lecanorchis multiflora
Hypericum siamense
Hedyotis garrettii
Ardisia lenticellata
Syzygium thumra
Shorea gratissima
Previous
Next