Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Flemingia brevipes
Flemingia brevipes
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Flemingia brevipes
Craib
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย:
-
หลีงัน
ชื่อท้องถิ่น::
-
หลีงัน (สงขลา)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fabales
วงศ์::
Fabaceae
สกุล:
Flemingia
วันที่อัพเดท :
29 ม.ค. 2564 14:07 น.
วันที่สร้าง:
29 ม.ค. 2564 14:07 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้พุ่ม
-
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (pinnately trifoliate) ใบย่อยบนรูปไข่ (ovate) โคนใบสอบ (cuneate)ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) ใบคู่ล่างทั้งสองมีโคนใบเบี้ย ว(unique) ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหยาบ หน้าใบและหลังใบมีขนสีขาวสั้นๆปกคลุมหนาแน่น เส้นกลางใบด้านหลัง เป็นสันนูนยาว จากโคนถึงปลายใบและตามเส้นกลางใบด้านหลังใบมีขนสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใบ (vein) จากโคนใบ 1 คู่ยาวไปเกือบถึงปลายใบ เส้นใบย่อยสานกันแบบร่างแห (reticular) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาว ไม่มีหูใบ ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ช่อดอกออกที่ตาข้างและปลายยอด ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ก้านดอกเดี่ยวยาวประมาณ 3 มิลิเมตร กลีบดอกกลาง (standard) สีเขียวมีลายเส้นสีม่วงพาดตามยาว กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูแก่ กลีบคู่ล่าง (keel) สีเขียวอมน้ำตาลมีสีชมพูปน
การกระจายพันธุ์ :
-
SE Thailand: Chanthaburi
-
พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ป่าผลัดใบ และป่าชุ่มชื้น สภาพดินร่วนปนทรายถึงดินทราย พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Endemic
-
ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเขตพื้นที่ตำบลคลองแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
Edges of evergreen forest, under 50 m.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
สูง 132.7-161.42 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 16.42-28.38 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวมีสีน้ำตาลปนและมีขนสีขาวยาว 3-4 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ใบบนยาว 12.23-15.89 เซนติเมตร กว้าง 7.18-9.36 เซนติเมตร ใบคู่ข้างยาว 11.23-14.73 เซนติเมตร กว้าง 5.84-7.72 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 8.19-11.11 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.48-0.68 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 4.84-6.64 เซนติเมตร มี 13-27 ดอกต่อช่อ ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่วยาว 0.7-1.2 เซนติเมตร ฝักยาว 1.01-1.25 เซนติเมตร ปลายยอดฝักมีติ่งแหลมแข็ง มี 8-18 ฝักต่อช่อ ผลเป็นฝักรูปค่อนข้างกลม ฝักสดสีน้ำตาลแดงมีเขียวปน ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม ฝักแก่แตกเป็นสองฝา มีเมล็ดรูปกลมสีน้ำตาลดำสองเมล็ด เมล็ดยาว 2-3 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ที่มาของข้อมูล
ONEP Biodiversity Series Vol. 17 : Thailand Red Data : Plants (2006)
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Dendrobium pendulum
มะม่วง
Mangifera indica
Notothixos malayanus
Caryota maxima
มะกอกโคก
Schrebera swietenides
ขี้หนอนควาย
Gironniera nervosa
Previous
Next