Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย
พื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายและพื้นที่ OECMs
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Finlaysonia maritima
Finlaysonia maritima
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Finlaysonia maritima
(Blume) Backer ex K.Heyne
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย:
-
กระเพาะปลา
-
เถากระเพาะปลา
ชื่อท้องถิ่น::
-
Kra Proh Pla
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Gentianales
วงศ์::
Apocynaceae
สกุล:
Finlaysonia
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงล่าสุด :
10 ก.ค. 2566
วันที่อัพเดท :
30 มิ.ย. 2564 18:57 น.
วันที่สร้าง:
30 มิ.ย. 2564 18:57 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
ป่าชายเลนคุระบุรี, อ่าวจาก คลองคุระบุรี ชายฝั่งคุระบุรี
-
เกาะกระ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พังงา
-
นครศรีธรรมราช
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นไม้เถาเนื้อนข็ง มียางสีขาว ลำต้นเกลี้ยง เถาและใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีแดงอมม่วง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 3.5-8 X 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมน และเป็นติ่งหนาม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบหนา มีขน ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า ก้านใบอวบหนา มักมีสีแดง
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุก แตกแขนงแบบสองหรือสามง่าม แขนงของช่อและก้านดอกอวบหนา สีม่วงแดง มีขน มีใบประดับขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมตามแขนงของช่อ
ดอกและทื่ก้านดอก ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.7 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขนาดเล็ก มีขนยาว กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ขอบขาว รูปกงล้อ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก เป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ ด้านในมีขนยาว สีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ชึ่งมี 2 อัน แต่ก้านเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ รูปห้าเหลี่ยม ยอดแบน
ผล เป็นฝักขนาดใหญ่ รูปไข่ ปลายแหลม และม้วนงอ ขนาด 3.5 X 5 เซนติเมตร ออกเป็นคู่ ตามยาวฝักมีสันใหญ่คล้ายครีบ และมีสันเล็กๆ แทรก ด้านบนสีม่วงอมชมพู ด้านล่างสีเขียว เมึ่อแก่จะแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย ออกดอกและผลเดือนตุลาคม-มีนาคม
-
เป็นไม้เถาเนื้อนข็ง มียางสีขาว ลำต้นเกลี้ยง เถาและใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีแดงอมม่วง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 3.5-8 X 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมน และเป็นติ่งหนาม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบหนา มีขน ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า ก้านใบอวบหนา มักมีสีแดง
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุก แตกแขนงแบบสองหรือสามง่าม แขนงของช่อและก้านดอกอวบหนา สีม่วงแดง มีขน มีใบประดับขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมตามแขนงของช่อ
ดอกและทื่ก้านดอก ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.7 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขนาดเล็ก มีขนยาว กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ขอบขาว รูปกงล้อ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก เป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ ด้านในมีขนยาว สีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ชึ่งมี 2 อัน แต่ก้านเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ รูปห้าเหลี่ยม ยอดแบน
ผล เป็นฝักขนาดใหญ่ รูปไข่ ปลายแหลม และม้วนงอ ขนาด 3.5 X 5 เซนติเมตร ออกเป็นคู่ ตามยาวฝักมีสันใหญ่คล้ายครีบ และมีสันเล็กๆ แทรก ด้านบนสีม่วงอมชมพู ด้านล่างสีเขียว เมึ่อแก่จะแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย ออกดอกและผลเดือนตุลาคม-มีนาคม
-
เป็นไม้เถาเนื้อนข็ง มียางสีขาว ลำต้นเกลี้ยง เถาและใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีแดงอมม่วง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 3.5-8 X 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมน และเป็นติ่งหนาม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบหนา มีขน ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า ก้านใบอวบหนา มักมีสีแดง
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุก แตกแขนงแบบสองหรือสามง่าม แขนงของช่อและก้านดอกอวบหนา สีม่วงแดง มีขน มีใบประดับขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมตามแขนงของช่อ
ดอกและทื่ก้านดอก ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.7 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขนาดเล็ก มีขนยาว กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ขอบขาว รูปกงล้อ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก เป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ ด้านในมีขนยาว สีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ชึ่งมี 2 อัน แต่ก้านเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ รูปห้าเหลี่ยม ยอดแบน
ผล เป็นฝักขนาดใหญ่ รูปไข่ ปลายแหลม และม้วนงอ ขนาด 3.5 X 5 เซนติเมตร ออกเป็นคู่ ตามยาวฝักมีสันใหญ่คล้ายครีบ และมีสันเล็กๆ แทรก ด้านบนสีม่วงอมชมพู ด้านล่างสีเขียว เมึ่อแก่จะแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย ออกดอกและผลเดือนตุลาคม-มีนาคม
-
เป็นไม้เถาเนื้อนข็ง มียางสีขาว ลำต้นเกลี้ยง เถาและใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีแดงอมม่วง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 3.5-8 X 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมน และเป็นติ่งหนาม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบหนา มีขน ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า ก้านใบอวบหนา มักมีสีแดง
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุก แตกแขนงแบบสองหรือสามง่าม แขนงของช่อและก้านดอกอวบหนา สีม่วงแดง มีขน มีใบประดับขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมตามแขนงของช่อ
ดอกและทื่ก้านดอก ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.7 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขนาดเล็ก มีขนยาว กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ขอบขาว รูปกงล้อ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก เป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ ด้านในมีขนยาว สีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ชึ่งมี 2 อัน แต่ก้านเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ รูปห้าเหลี่ยม ยอดแบน
ผล เป็นฝักขนาดใหญ่ รูปไข่ ปลายแหลม และม้วนงอ ขนาด 3.5 X 5 เซนติเมตร ออกเป็นคู่ ตามยาวฝักมีสันใหญ่คล้ายครีบ และมีสันเล็กๆ แทรก ด้านบนสีม่วงอมชมพู ด้านล่างสีเขียว เมึ่อแก่จะแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย ออกดอกและผลเดือนตุลาคม-มีนาคม
ที่มาของข้อมูล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Ipomoea muricata
Schleichera oleosa
Aeschynanthus andersonii
ปอแก่นเทา
Grewia elatostemoides
ขนหมอยแม่ม่าย (สตูล) หญ้าเหล็กไผ่ (สุราษฎร์ธานี) หญ้าอีเหนียว (ชัยนาท) เหนียวหมา (ระนอง)
Centotheca latifolia
มะค่าแต้นครพนม, หมากแต
Sindora stipitata
Previous
Next