ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี สูง 1-2 เมตร ส่วนต่างๆ มีขนหยาบหนาแน่น หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7-8 มิลลิเมตรใบ:ใบเดี่ยวรูปนิ้วมือมี 3-7 พู ขนาด 6-15 เซนติเมตร พูรูปใบหอก ปลายแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบมีขนกระจายทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 7-15 เซนติเมตรดอก:ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 2-3 เซนติเมตร ริ้วประดับมี 6-12 อัน รูปเส้นด้ายหรือรูปใบหอก ยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร โค้งเข้า กลีบเลี้ยงรูปใบพาย ยาว 2-3 เซนติเมตร แยกจรดโคนด้านเดียว ปลายกลีบมี 5 แฉกตื้นๆ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกสีเหลืองนวล มีสีม่วงเข้มตรงกลางทั้งด้านนอกและด้านใน ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-12 เซนติเมตร กลีบรูปไข่กลับ เส้าเกสรยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เกลี้ยง รังไข่มีขนหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก มีขนหนาแน่น ยอดเกสรรูปจาน แคปซูลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลม มีขนหยาบหนาแน่นผล:เมล็ดสีน้ำตาลดำ คล้ายรูปไต มีปุ่มเล็กๆ เป็นร่างแหกระจาย เปลือก:อื่นๆ:

ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี สูง 1-2 เมตร ส่วนต่างๆ มีขนหยาบหนาแน่น หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7-8 มิลลิเมตร
ใบเดี่ยวรูปนิ้วมือมี 3-7 พู ขนาด 6-15 เซนติเมตร พูรูปใบหอก ปลายแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบมีขนกระจายทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 7-15 เซนติเมตร
ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 2-3 เซนติเมตร ริ้วประดับมี 6-12 อัน รูปเส้นด้ายหรือรูปใบหอก ยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร โค้งเข้า กลีบเลี้ยงรูปใบพาย ยาว 2-3 เซนติเมตร แยกจรดโคนด้านเดียว ปลายกลีบมี 5 แฉกตื้นๆ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกสีเหลืองนวล มีสีม่วงเข้มตรงกลางทั้งด้านนอกและด้านใน ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-12 เซนติเมตร กลีบรูปไข่กลับ เส้าเกสรยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เกลี้ยง รังไข่มีขนหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก มีขนหนาแน่น ยอดเกสรรูปจาน แคปซูลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลม มีขนหยาบหนาแน่น
เมล็ดสีน้ำตาลดำ คล้ายรูปไต มีปุ่มเล็กๆ เป็นร่างแหกระจาย

- ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2 ม. ส่วนต่าง ๆ มีขนหยาบกระจาย หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7–8 มม. ใบส่วนมากรูปฝ่ามือ 3–7 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–15 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 7–15 ซม. ดอกออกเดี่ยว ๆ ก้านดอกยาว 2–3 ซม. ริ้วประดับ 6–12 อัน รูปแถบ ยาว 0.8–1.3 ซม. โค้งเข้า กลีบเลี้ยงยาว 2–3 ซม. ดอกสีเหลืองนวล โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาลทั้งด้านนอกและด้านใน ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7–12 ซม. เส้าเกสรยาวประมาณ 2.5 ซม. รังไข่มีขนหนาแน่น ผลรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 5–6 ซม. ปลายแหลม เมล็ดสีน้ำตาลดำ รูปคล้ายไต มีปุ่มเล็ก ๆ เป็นร่างแหกระจาย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กระเจี๊ยบมอญ, สกุล)
การกระจายพันธุ์ :
- อินเดีย จีน พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง หรือริมลำธาร ชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูง 200-1000 เมตร ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร,ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอม ใบเป็นสมุนไพร ใช้ตำทารักษากลากเกลื้อนได้