ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. แยกเพศร่วมต้น มีต่อมน้ำต้อยกระจายตามขอบหูใบ โคนก้านใบ โคนแผ่นใบ และโคนใบประดับ หูใบเชื่อมติดกันรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 1.5 ซม. โอบรอบกิ่ง ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปฝ่ามือ 6-11 แฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. โคนแบบก้นปิด ขอบจักฟันเลื่อยไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม ช่อดอกแบบช่อกระจะ หรือแยกแขนงสั้น ๆ ดอกเพศผู้อยู่ช่วงล่าง ดอกเพศเมียอยู่ช่วงบน ไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจรดโคน รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 1 ซม. ในดอกเพศเมียคล้ายเกล็ด เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นมัด แยกสองแฉกหลายหน รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลเม็ดเดียว มีเกล็ดคล้ายหนาม ก้านเกสร 3 อัน ยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง ปลายแฉกลึก ติดทน ผลแห้งแตก รูปรี ยาวประมาณ 1.5 ซม. จัก 3 พู มีขนคล้ายหนาม เมล็ดผิวมีปื้นสีน้ำตาล จุกขั้วจัก 2 พู
-
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 6 ม. หูใบรูปสามเหลี่ยม กว้าง 2 – 3 มม.ยาว 4 – 7 มม. มีเส้นตามแนวขนาน ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปฝ่ามือ กว้าง 6 - 14 ซม. ขอบเว้าลึกเป็นแฉก 5 - 7 แฉก และจักแบบฟันเลื่อย ปลายเรียวแหลม ก้านใบ ยาว 5 – 8 ซม. ติดที่ฐานใบแบบก้นปิด ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลือง เกสรเพศผู้ สีครีม ขาว หรือ เหลืองอ่อน ดอกเพศเมียกลีบดอกสีเขียว สีแดง สีเขียว หรือแดง รังไข่ มีขนคล้ายพู่ ยาว 4 - 5 มม. ผล แบบแห้งแตก มีหนามด้านนอก
-
พืชล้มลุกกิ่งไม้พุ่ม สูง ๒-๕ เมตร มีน้ำยางสีขาวขุ่น กิ่งอ่อนและใบอ่อนสีนวลขาว และมักมีสีม่วงแดงไม่มากก็น้อย ใบรูปฝ่ามือ กว้าง ๓๐-๕๐ เมตร หยัก ๗-๑๑ พู ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ๒๐-๔๐ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ตั้งขึ้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ดอกสีเขียวอ่อน ผลมีสามพู ผิวมีหนามหนาแน่น เมล็ดคล้ายเมล็ดยางพารา มีลาย, ชอบขึ้นตามที่โล่งและ รกร้าง ในเขตที่มีชั้นดินลึก ที่ระดับความสูง ไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร
-
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 6 ม. หูใบรูปสามเหลี่ยม กว้าง 2 – 3 มม.ยาว 4 – 7 มม. มีเส้นตามแนวขนาน ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปฝ่ามือ กว้าง 6 - 14 ซม. ขอบเว้าลึกเป็นแฉก 5 - 7 แฉก และจักแบบฟันเลื่อย ปลายเรียวแหลม ก้านใบ ยาว 5 – 8 ซม. ติดที่ฐานใบแบบก้นปิด ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลือง เกสรเพศผู้ สีครีม ขาว หรือ เหลืองอ่อน ดอกเพศเมียกลีบดอกสีเขียว สีแดง สีเขียว หรือแดง รังไข่ มีขนคล้ายพู่ ยาว 4 - 5 มม. ผล แบบแห้งแตก มีหนามด้านนอก
การกระจายพันธุ์ :
-
เป็นพืชปลูกทั่วไปในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ส่วนประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพืชปลูกพบทั่วประเทศ
-
เป็นพืชปลูกทั่วไปในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ส่วนประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพืชปลูกพบทั่วประเทศ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปแอฟริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช