ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่ม สูง 2-4 ม. ใบเป็นเดี่ยว รูปยาวแคบแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-11 มม. ดอกสีแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 3-11 ซม. ดอกย่อยแยกเพศ ไมมีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบรองดอกรูปกลม แยกเป็น 3 แฉก เกสรผู้จำนวนมาก ดอกเพศเมีย กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม ผลเป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาด 5-8 มม. มีขน เมล็ดรูปไข่ ขนาด 2 มม.
- ไม้พุ่ม กึ่ง ไม้ต้นขนาดเล็ก เปลือกสีเทา เกลี้ยง กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขนสั้น ๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปยาวแขนง หรือยาวแคบแกมรูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักแบบซี่ฟันเล็ก ๆ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกตั้ง ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้กลีบเลี้ยงกลม แยกป็น 3 แฉก ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้จำนวนมาก โคนเชื่อมติดกัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อ ดอกติดห่าง ๆ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปไข่ปลายแหลม ด้านนอกมีขน ไม่มีกลีบดอก ผลกลมมีขน เมล็ดค่อนข้างเป็นรูปไข่
- ไม้พุ่ม สูง 2-4 ม. ใบเป็นเดี่ยว รูปยาวแคบแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-11 มม. ดอกสีแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 3-11 ซม. ดอกย่อยแยกเพศ ไมมีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบรองดอกรูปกลม แยกเป็น 3 แฉก เกสรผู้จำนวนมาก ดอกเพศเมีย กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม ผลเป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาด 5-8 มม. มีขน เมล็ดรูปไข่ ขนาด 2 มม.
การกระจายพันธุ์ :
- จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบทุกภาค ตามลำห้วยและริมฝั่งน้ำ
- พบที่อินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย นิวกินี ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามโขดหินริมแม่น้ำ หรือชายฝั่งทะเลที่น้ำท่วมถึง เป็นพืชทนน้ำท่วม เปลือกเหนียวใช้แทนเชือกได้ ใบ กิ่ง และผล แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ในเวียดนามใบใช้เลี้ยงสัตว์
- จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบทุกภาค ตามลำห้วยและริมฝั่งน้ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ลพบุรี
- กาญจนบุรี
- ชุมพร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซับลังกา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
- ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร