ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- พืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นกลวง รากออกตามข้อ ใบ รูปสามเหลี่ยม รูปหอกหรือรูปขอบขนานแคบ กว้าง 1-9 ซม. ยาว 3-15 ซม. ก้านใบยาว 3-15 ซม. ดอก สีขาว สีชมพูหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อมี 2-3 ดอก ลักษณะแผ่เป็นปากแตร ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันตรงโคน กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5แฉก ยาว 3-5 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดเหนือโคนกลีบดอก ผล แห้งแล้วแตก รูปไข่หรือกลม ขนาด 1 ซม. เมล็ดมี 4 เมล็ด
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุก ที่ลำต้นทอดคลานไปตามดิน มีเนื้ออ่อน ลำต้นจะกลวงและเป็นปล้องๆ มีสีเขียว จะเลื้อยขึ้นแผ่ตามหน้าน้ำหรือในที่ลุ่ม ตามพื้นที่มีความชื้น และแฉะใบ:ใบเดี่ยว เรียงสลับตามข้อต้น มีสีเขียวเข้ม รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ใบยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอก:ดอกรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อนๆ หรือสีชมพู ดอกจะบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้ว ดอกจะดกในฤดูแล้งผล:เปลือก:อื่นๆ:

ไม้ล้มลุก ที่ลำต้นทอดคลานไปตามดิน มีเนื้ออ่อน ลำต้นจะกลวงและเป็นปล้องๆ มีสีเขียว จะเลื้อยขึ้นแผ่ตามหน้าน้ำหรือในที่ลุ่ม ตามพื้นที่มีความชื้น และแฉะ
ใบเดี่ยว เรียงสลับตามข้อต้น มีสีเขียวเข้ม รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ใบยาวประมาณ 2-3 นิ้ว
ดอกรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อนๆ หรือสีชมพู ดอกจะบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้ว ดอกจะดกในฤดูแล้ง


- ไม้เถาล้มลุกขึ้นในน้ำหรือพื้นดิน มีรากตามข้อ ลำต้นกลวง ใบรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 3.5-17 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนตัด รูปหัวใจหรือเงี่ยงลูกศร ก้านใบยาว 3-14 ซม. ช่อดอกมี 1-5 ดอก ก้านช่อยาว 1.5-9 ซม. ใบประดับเป็นแผ่นเกล็ดขนาด 1-2 มม. ก้านดอกยาว 1.5-5 ซม. กลีบเลี้ยงเกลี้ยง คู่นอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 7-8 มม. ปลายมนมีติ่งแหลม 3 กลีบในรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. ดอกรูปแตร สีชมพู ม่วงอ่อน โคนด้านในมักมีสีเข้ม หรือดอกสีขาวล้วน ยาว 3.5-5 ซม. รังไข่เกลี้ยง ผลรูปไข่กว้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เมล็ดมีขนสั้น
- พืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นกลวง รากออกตามข้อ ใบ รูปสามเหลี่ยม รูปหอกหรือรูปขอบขนานแคบ กว้าง 1-9 ซม. ยาว 3-15 ซม. ก้านใบยาว 3-15 ซม. ดอก สีขาว สีชมพูหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อมี 2-3 ดอก ลักษณะแผ่เป็นปากแตร ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันตรงโคน กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5แฉก ยาว 3-5 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดเหนือโคนกลีบดอก ผล แห้งแล้วแตก รูปไข่หรือกลม ขนาด 1 ซม. เมล็ดมี 4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
- พบทั่วไปในเขตร้อน ตามหนองน้ำคลองบึง ลอยอยู่บนผิวน้ำ หรือทอดเลื้อยตามพื้นดินชุ่มน้ำ
- เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่ายมาก คือเอาต้นหรือเถาไปปักชำในที่ชื้นก็จะแตกต้นใหม่ เพาะเมล็ด ขึ้นในที่ดอนและในทีร่มเงาของป่าโปร่ง ทนต่อสภาพแห้งแล้งและการถูกไฟเผา
- พบทั่วไปในเขตร้อน ตามหนองน้ำคลองบึง ลอยอยู่บนผิวน้ำ หรือทอดเลื้อยตามพื้นดินชุ่มน้ำ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน)
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- ลำปาง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,สมุนไพร
- =- อาหาร - มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย - ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ทั้งต้น
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,ทำยา
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2018)
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
NSM Pathum Thani
NSM Pathum Thani
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ