ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
- อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- อุทยานแห่งชาติ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
- อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะชุมพร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๑๐-๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกแตกเป็นสะเก็ดมน กิ่งเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหอกและโค้ง กว้าง ๓-๗ เซนติเมตร ยาว ๑๓-๒๐ เซนติเมตร ปลายและโคนใบเรียวแหลม มีเส้นใบตามแนวยาว ๓-๔ เส้น ผิวเกลี้ยง ช่อดอกคล้ายหางกระรอก สี เหลือง-ขาว ยาว ๑๐ เซนติเมตร ฝักแบน รูปแถบยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ขดม้วนกลม, เป็นพืชที่นิยมปลูกฟื้นฟูป่าหรือใช้ไม้ ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร/ปี มีระดับความสูงไม่เกิน ๕๐๐ เมตร และเป็นดินลูกรังเป็นกรด หรือดินปนทราย จะมีการขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติได้ดี ประกอบกับซากพืชที่ร่วงหล่นมีแทนนินสูงมากจนยับยั้งการงอกและการเติบโตพืชชนิดอื่น ยกเว้นกล้าไม้ของมันเอง จนทำให้กระถินเทพาแผ่กระจายปกคลุมพื้นที่รกร้าง เหมืองเก่า ป่าชายหาดในภาคใต้ และในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราด หลายแห่ง, พาหะที่สำคัญคือ มนุษย์ และนกซึ่งชอบกินเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดสีส้มและขับถ่ายเมล็ดไปร่วงที่อื่นๆ
ถิ่นกำเนิด :
- ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย,เกาะนิวกินี,ประเทศอินโดนีเซียด้านตะวันออก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- พังงา
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- นนทบุรี
- พังงา
- ชุมพร
- นราธิวาส
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- เป็นไม้ยืนต้น
ลำต้น: เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่โตเร็วมีความสูงถึง 30 ม. แต่โดยปกติแล้วโตเต็มที่จะมีความสูงเกิน 15 ม. มีช่วงยาวของลำต้นที่ปราศจากกิ่งก้านเกือบครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมดขึ้นในที่โล่งแจ้ง มีการลัดกิ่งเองตามธรรมชาติ ต้นที่มีอายุมากๆ เปลือกแข็งหนา ขรุขระแตกเป็นร่องยาว มีสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างหนา เมื่อแก่เปลือกจะหยาบ เป็นสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อไม้ส่วนกระพี้บาง สีค่อนข้างอ่อน ส่วนแก่นมีสีน้ำตาล
ใบ: มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวมีเส้นใบขนานกัน เกิดแบบสลับ ใบที่เห็นเป็นใบเทียมคล้ายใบกระถินณรงค์ ส่วนที่เห็นแผ่นใบ คือ ส่วนของก้านใบเปลี่ยนรูปมาทำหน้าที่เป็นใบ
ดอก: เป็นดอกช่อรูปทรงกระบอกแบบหางกระรอก สีขาวครีม ยาวประมาณ 10 ซม.
ผล: เป็นฝัก ฝักอ่อนจะมีสีเขียวในตอนแรกจะเหยียดตรง และจะมีเขียวเข้มเรื่องๆ จนเป็นสีน้ำตาลเข้ม-ดำ เมื่อฝักแก่จัด โดยฝักมีลักษณะบิดงอไปมา ขยุ้มเป็นกลุ่มก้อนแน่น ฝักเมื่อแก่เต็มที่จะแตกปริตามตะเข็บ
เมล็ด: เมล็ดมีสีดำขนาด 3 - 5 มม. เกิดเรียงไปตามความยาวของฝัก และยึดติดกับฝักด้วยรก ซึ่งมีสีเหลืองสด
- เป็นไม้ยืนต้น
ลำต้น: เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่โตเร็วมีความสูงถึง 30 ม. แต่โดยปกติแล้วโตเต็มที่จะมีความสูงเกิน 15 ม. มีช่วงยาวของลำต้นที่ปราศจากกิ่งก้านเกือบครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมดขึ้นในที่โล่งแจ้ง มีการลัดกิ่งเองตามธรรมชาติ ต้นที่มีอายุมากๆ เปลือกแข็งหนา ขรุขระแตกเป็นร่องยาว มีสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างหนา เมื่อแก่เปลือกจะหยาบ เป็นสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อไม้ส่วนกระพี้บาง สีค่อนข้างอ่อน ส่วนแก่นมีสีน้ำตาล
ใบ: มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวมีเส้นใบขนานกัน เกิดแบบสลับ ใบที่เห็นเป็นใบเทียมคล้ายใบกระถินณรงค์ ส่วนที่เห็นแผ่นใบ คือ ส่วนของก้านใบเปลี่ยนรูปมาทำหน้าที่เป็นใบ
ดอก: เป็นดอกช่อรูปทรงกระบอกแบบหางกระรอก สีขาวครีม ยาวประมาณ 10 ซม.
ผล: เป็นฝัก ฝักอ่อนจะมีสีเขียวในตอนแรกจะเหยียดตรง และจะมีเขียวเข้มเรื่องๆ จนเป็นสีน้ำตาลเข้ม-ดำ เมื่อฝักแก่จัด โดยฝักมีลักษณะบิดงอไปมา ขยุ้มเป็นกลุ่มก้อนแน่น ฝักเมื่อแก่เต็มที่จะแตกปริตามตะเข็บ
เมล็ด: เมล็ดมีสีดำขนาด 3 - 5 มม. เกิดเรียงไปตามความยาวของฝัก และยึดติดกับฝักด้วยรก ซึ่งมีสีเหลืองสด
การขยายพันธุ์ :
- เพาะเมล็ด
- เพาะเมล็ด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ไม้ใช้สอย
- ปลูกฟื้นฟูป่าหรือใช้ไม้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล