ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
- ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก
- ไม้ล้มลุก ลำต้นแตกกิ่งทอดไปตามพื้นหรือตั้งขึ้นอาจสูงได้ถึง 60 ซม. มีขน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกว้าง 0.6-2.5 ซม. ยาว 3-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลม ขอบเรียบหรือจักห่าง ๆ 2-3 จักช่วงปลายใบ แผ่นใบทั้ง 2 ด้านมีขนสั้นสาก ไม่มีก้านใบหรือก้านสั้น ช่อดอก แบบช่อกระจุกแน่น ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ปลายกิ่ง หรือออก 1-3 ช่อตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 0.5-7 ซม. มีขนสั้นสาก วงใบประดับ 5-6 ใบ สีเขียวรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. ปลายแหลม และมีขนตามขอบส่วนปลาย ดอก สีขาว ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มี 3-5 ดอก กลีบดอกกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ยอดเกสเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมี 2 แฉก ผล แบบผลแห้งเมล็ดอ่อน ผลของดอกวงนอกรูปสามเหลี่ยมสันมน ส่วนผลของดอกวงในรูปสี่เหลี่ยมสันมนยาว 2-8 มม.
การกระจายพันธุ์ :
- พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ตามที่ดอนและที่ลุ่มชื้นทั่วไป ในต่างประเทศพบตามเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- ลำปาง
- พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ทั้งต้น
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- =- ใช้เป็นยาบำรุงเลือดช่วยเพิ่มระดับของ T- Lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ - น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ใช้ทาให้ทั่วศีรษะจะช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย - ใบกะเม็งนำมาโขลกใช้พอกแผลสดเพื่อห้ามเลือด - ในประเทศอินเดียมีการใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาใช้สัก เพื่อให้รอยสักเป็นสีเขียวคราม
ที่มาของข้อมูล