ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้เถาตามคาคบ กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิวและมียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนแน่นตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่หรือรี กว้าง 10-14 ซม. ยาว 12-26 ซม. ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือหยักเว้า เนื้อใบหนาเกลี้ยง เส้นใบออกจากจุดฐาน 3 เส้น เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ก้านใบยาว 4-10 ซม. มีเกล็ดประปราย ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นก้อนหรือเป็นหัว ขนาดประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกเพศเมียรวมกันเป็นหัวเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดประมาณ 2-3 ซม. โคนดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆ และปลายแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก เกสรผู้ 2-4 อัน รังไข่มีช่องเดียว มีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลเป็นก้อนกลม สีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาด 2-4 ซม. ก้านช่อผลยาวถึง 4 ซม.
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก
-
ไม้เถาตามคาคบ กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิวและมียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนแน่นตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่หรือรี กว้าง 10-14 ซม. ยาว 12-26 ซม. ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือหยักเว้า เนื้อใบหนาเกลี้ยง เส้นใบออกจากจุดฐาน 3 เส้น เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ก้านใบยาว 4-10 ซม. มีเกล็ดประปราย ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นก้อนหรือเป็นหัว ขนาดประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกเพศเมียรวมกันเป็นหัวเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดประมาณ 2-3 ซม. โคนดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆ และปลายแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก เกสรผู้ 2-4 อัน รังไข่มีช่องเดียว มีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลเป็นก้อนกลม สีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาด 2-4 ซม. ก้านช่อผลยาวถึง 4 ซม.
การกระจายพันธุ์ :
-
พบตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจดภาคใต้ ตามชายป่าดิบชื้นที่มีแสงแดด
-
พบตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจดภาคใต้ ตามชายป่าดิบชื้นที่มีแสงแดด
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)
-
ป่าทุ่งระยะและป่านาสัก ชุมพร, ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ชุมพร, สุราษฎร์ธานี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง