ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุกอวบน้ำ สูง 30-50 ซม. ต้นเกลี้ยง เปราะหักง่าย ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานแคบหรือรูปหอก กว้าง 0.5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ขอบใบหยัก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือหยัก เป็นติ่งหู ดอก สีชมพู ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกบานกว้างถึง 2.5 ซม. กลีบรองดอก 3 กลีบ กลีบด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่า กลีบด้านข้างและเชื่อมกันเป็นถุง ส่วนปลายเป็นเดือยยาวเรียว และโค้งงอ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นกลีบบน 1 กลีบ กลีบข้าง 2 กลีบ และกลีบล่างขนาดใหญ่ 2 กลีบ แผ่กว้างรูปไข่กลับ ผล สีเขียวอ่อน เกลี้ยง ก้านยาวเมื่อแก่จะโค้งงอ แตกดีดเมล็ด ไปได้ไกล
- ไม้ล้มลุกอวบน้ำ สูง 30-50 ซม. ต้นเกลี้ยง เปราะหักง่าย ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานแคบหรือรูปหอก กว้าง 0.5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ขอบใบหยัก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือหยัก เป็นติ่งหู ดอก สีชมพู ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกบานกว้างถึง 2.5 ซม. กลีบรองดอก 3 กลีบ กลีบด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่า กลีบด้านข้างและเชื่อมกันเป็นถุง ส่วนปลายเป็นเดือยยาวเรียว และโค้งงอ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นกลีบบน 1 กลีบ กลีบข้าง 2 กลีบ และกลีบล่างขนาดใหญ่ 2 กลีบ แผ่กว้างรูปไข่กลับ ผล สีเขียวอ่อน เกลี้ยง ก้านยาวเมื่อแก่จะโค้งงอ แตกดีดเมล็ด ไปได้ไกล
การกระจายพันธุ์ :
- จีนและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้พบขึ้นมากตามป่าหญ้าที่มีน้ำค้างหรือบนภูเขาสูง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 500-1,100 เมตร
- จีนและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้พบขึ้นมากตามป่าหญ้าที่มีน้ำค้างหรือบนภูเขาสูง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 500-1,100 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง