ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้าย สาบเสือ สูง 1-2 เมตรใบ:ใบเดี่ยวออกจากลำต้นและข้อ แบบตรงกันข้าม ใบรูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้านดอก:ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอดผล:ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็นห้าเหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลมเปลือก:อื่นๆ:

ไม้ล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้าย สาบเสือ สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยวออกจากลำต้นและข้อ แบบตรงกันข้าม ใบรูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน
ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด
ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็นห้าเหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

- ไม้พุ่ม
- พืชล้มลุกกึ่งเลื้อย อายุหลายปี สูง ๑-๓ เมตร ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก ก้านใบ และ ท้องใบมีขนสั้นหนาแน่น ใบเรียงตรงกันข้าม รูปไข่-ไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ยาว ๔-๑๐ เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจัก ก้านใบยาว ๑-๒ เซนติเมตร ช่อดอกแบบแยกแขนง มีช่อดอกย่อยติดแบบซี่ร่มห่างๆ ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ทรงกระบอกสีขาว-สีชมพูอ่อน กว้าง ๔-๕ มิลลิเมตร ติดเมล็ดขนาดเล็ก ยาว เพียง ๔ มิลลิเมตร ปลายเมล็ดมีพู่ขนสีขาว ปลิวตามลมได้ไกล ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งเสื่อมโทรม หรือตามพื้นที่เกษตร ที่ระดับต่ำกว่า ๑,๓๐๐ เมตร ลงมา ชอบพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝน ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ มิลลิเมตร/ปี ติดผลประมาณฤดูหนาว-ร้อน ถ้าแห้งแล้ง มากหรือถูกไฟป่าต้นอาจแห้งตาย แล้วแตกหน่อขึ้นมาใหม่ในฤดูฝน
การกระจายพันธุ์ :
- พบขึ้นทั่วไปทั้งในสภาพดินชื้น หรือแห้ง แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้น และที่รกร้าง ว่างเปล่า
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมะอี่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาลีก ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน) ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือและป่ายางน้ำกลัดใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงโพนทราย ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าสีสุก ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-ป่าเขาไฟไหม้) ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองยัน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
- กาญจนบุรี, ตาก
- ราชบุรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ถิ่นกำเนิด :
- ทวีปอเมริกาใต้
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร,ใบ ใช้สมานแผล
- สมุนไพร
ที่มาของข้อมูล