ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์, อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย แพร่
-
อำเภอเชียงคำ อำเภอปง พะเยา, อำเภอสองแคว น่าน
-
ภูผาเทิบ
-
บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สุรินทร์
-
อุตรดิตถ์,แพร่
-
พะเยา,น่าน
-
มุกดาหาร
-
สุรินทร์
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้เลื้อย/ไม้เถา
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
ชาวเขาเผ่าอีก้อและกะเหรี่ยงจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย หรือจะใช้รากตากแห้งดองกับเหล้าหรือบดให้เป็นผงทำเป็นยาลูกกลอน กินบำรุงกำลัง บำรุงเลือด ทำให้ร่างกายแข็งแรง ตำรับยาบำรุงร่างกาย จะใช้รากเถาประสงค์และรากตำยาน อย่างละ 1 กำมือเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำท่วมยา (ห้ามเคี่ยว) ใช้ดื่มกินได้ตลอดวันเป็นยาบำรุงร่างกาย นอกจากนี้หมอยาอีกหลายท่านยังใช้รากเถาประสงค์เป็นยารักษาคนผอมเหลือง ซีดเซียวไม่มีกำลัง โดยการนำรากมาต้มหรือดองกินอีกด้วย ตำรายาไทยจะใช้รากที่มีรสสุขุมเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ต้นหรือรากเถาประสงค์ ผสมกับต้นโมกหลวง เถาย่านาง และรากส้มลม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืดอย่างแรง หมอยาที่เมืองเลยจะใช้รากเป็นยาแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปอดไม่ดี รวมทั้งฝีในปอด ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาขับน้ำคาวปลาและโลหิตเสียของสตรี ตาบุญ สุขบัว หมอยาเมืองเลย และพ่อประกาศ ใจทัศน์ จะใช้รากเถาประสงค์แทนการใช้รากตำยานหรือนำมาใช้ร่วมกันในตำรับยาบำรุงสมรรถภาพของเพศชาย เพื่อรักษาโรคไม่สู้เมีย เพราะทั้งคู่เป็นพืชในตระกูลเดียวกัน รากมีลักษณะคล้ายคลีงกัน จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ตำยานฮากหอม" มีงานวิจัยที่ระบุว่า สารสกัดจากรากเถาประสงค์มีสรรพคุณในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น (Dry and Sub-humid Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
หนังสือ พรรณไม้มีคุณค่าจากป่าสาธารณะประโยชน์ บ้านทำนบ, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
พืชสมุนไพร ป่าชุมชนตะลุมพุก, โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่รอบป่ามรดกโลก "ดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ฝั่งตะวันออก, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช