ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้เถา เกาะเลื้อยด้วนส่วนของใบที่เปลี่ยนเป็นมือพันกิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อ 1-4 ดอก ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบ รูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด 1.5-2.5 ซม. เกสรผู้จำนวนมาก วงนอกมักเป็นหมัน รังไข่มี 10 อัน หรือจำนวนมาก ผลรูปรีแกมรูปไข่ ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว 2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20 ผล ก้านผลยาว 1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด
- ไม้เถา เกาะเลื้อยด้วนส่วนของใบที่เปลี่ยนเป็นมือพันกิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อ 1-4 ดอก ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบ รูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด 1.5-2.5 ซม. เกสรผู้จำนวนมาก วงนอกมักเป็นหมัน รังไข่มี 10 อัน หรือจำนวนมาก ผลรูปรีแกมรูปไข่ ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว 2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20 ผล ก้านผลยาว 1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด
- โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นไปได้ไกลประมาณ 5 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีม่วงอมเทา เนื้อไม้แข็ง กิ่งและยอดอ่อนปกคลุมไปด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลแดงหนาแน่น แต่ถ้าแก่ไปผิวจะเกลี้ยงและไม่มีขน ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดตลอดวัน โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
การกระจายพันธุ์ :
- พบขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงอินโดนีเซีย ตามป่าดงดิบที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 800 ม. ออกดอกตลอดปี
- พบขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงอินโดนีเซีย ตามป่าดงดิบที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 800 ม. ออกดอกตลอดปี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- อุทยานแห่งชาติ ดอยจง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
- อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
- สุรินทร์
- ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
- บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ลำปาง, ลำพูน
- ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
- ชัยภูมิ
- ชัยภูมิ
- ราชบุรี
- กาญจนบุรี
- บุรีรัมย์, สระแก้ว
- ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
- พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
- สุรินทร์
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,สมุนไพร
ที่มาของข้อมูล