ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดกลาง (55-56 ซม.) คอค่อนข้างยาวและเรียว ลำตัวยาว ปากและนิ้วสีเทา ตัวผู้บริเวณหัวและลำคอสีน้ำตาลเข้ม มีลาย
แถบสีขาว ลำตัวด้านบนสีเทา หางสีดำยาว เป็นหางเข็ม ตัวเมียลำตัวทางด้านบนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลลายพร้อย ท้องเป็นสีขาว
แถบสีขาว ลำตัวด้านบนสีเทา หางสีดำยาว เป็นหางเข็ม ตัวเมียลำตัวทางด้านบนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลลายพร้อย ท้องเป็นสีขาว
-
คอค่อนข้างยาว ปลายหางแหลมยาว นกเป็ดน้ำขนาดใหญ่
ที่มีหางแหลมยื่นยาวกว่านกเป็ดน้ำชนิดอื่น ปากและขาสีเทา ตัวผู้หัวสีน้ำตาลเข้ม มีเส้นสีขาวลากจากข้างหัวลงไปต่อกับคอด้านหน้า และอกสีขาว ลำตัวสีเทา สีข้างมีแถบสีเหลืองอ่อน ก้นสีดำ ช่วงผลัดขน ตัวผู้มีสีสันคล้ายตัวเมีย แต่ลำตัวด้านบนสีเทา ตัวเมีย มีลายสีน้ำตาลคล้ายตัวเมียของนกเป็ดน้ำชนิดอื่น แต่ปากสีคล้ำ คอยาว ลำตัวเพรียว และหางยาวกว่า ชอบอยู่เป็นฝูง ลอยตัวรวมกับนกเป็ดน้ำอื่นๆ สังเกตได้ชัดเจนจากหางแหลมยาว ขณะมุดน้ำหากินจะโผล่หางแหลมชี้ขึ้น อยู่ปะปนกับเป็ดแดง เป็ดเทา และเป็ดเทาก้นดำ เสียงร้อง ตัวผู้ “พรี้บ-พรี้บ” เบาๆ ตัวเมียเสียงแหบดัง “กว๊าก-กว๊ากกว๊าก”
ที่มีหางแหลมยื่นยาวกว่านกเป็ดน้ำชนิดอื่น ปากและขาสีเทา ตัวผู้หัวสีน้ำตาลเข้ม มีเส้นสีขาวลากจากข้างหัวลงไปต่อกับคอด้านหน้า และอกสีขาว ลำตัวสีเทา สีข้างมีแถบสีเหลืองอ่อน ก้นสีดำ ช่วงผลัดขน ตัวผู้มีสีสันคล้ายตัวเมีย แต่ลำตัวด้านบนสีเทา ตัวเมีย มีลายสีน้ำตาลคล้ายตัวเมียของนกเป็ดน้ำชนิดอื่น แต่ปากสีคล้ำ คอยาว ลำตัวเพรียว และหางยาวกว่า ชอบอยู่เป็นฝูง ลอยตัวรวมกับนกเป็ดน้ำอื่นๆ สังเกตได้ชัดเจนจากหางแหลมยาว ขณะมุดน้ำหากินจะโผล่หางแหลมชี้ขึ้น อยู่ปะปนกับเป็ดแดง เป็ดเทา และเป็ดเทาก้นดำ เสียงร้อง ตัวผู้ “พรี้บ-พรี้บ” เบาๆ ตัวเมียเสียงแหบดัง “กว๊าก-กว๊ากกว๊าก”
ระบบนิเวศ :
-
พบตามแหล่งน้ำต่างๆ ออกหากินตอนใกล้ค่ำและตอนกลางคืน กลางวันพักผ่อนด้วยการลอยอยู่ในน้ำ แต่ก็อาจหากินด้วย กินพืชน้ำและสัตว์น้ำต่างๆ เป็นอาหาร
-
ระบบนิเวศแม่น้ำ หนองน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เชียงราย
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
-
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
-
คู่มือจำแนกชนิดพันธุ์นกน้ำ ในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำอิงตอนล่าง, 2566, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
IUCN Red List
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |