ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น
-
ต้นลำพูป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นโตเร็วผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง มีความสูงได้ประมาณ 15-35 เมตร โตวัดรอบลำต้นได้ประมาณ 100-200 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง รูปทรงกลมหรือทรงกระบอก กิ่งใหญ่จะตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกเป็นสีเทาเป็นสะเก็ดหรือตกเป็นแผ่นไม่เป็นระเบียบ เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดงคล้ำ ส่วนกระพี้เป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม สีเหลือง เกลี้ยง บิดไปมาระหว่างคู่ใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบขึ้นตามป่าริมน้ำ ริมลำธาร หรือลำห้วยทั่วไปทางภาคเหนือและภาคใต้ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขาต่ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
ใบลำพูป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปติ่งหู ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-24 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีนวลหรือเป็นคราบขาว เส้นแขนงใบมีประมาณ 14-20 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบกลายเป็นเส้นขอบใบชัดเจน เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได มองเห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะอวบ มีขนาดยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร ส่วนหูใบไม่มี
ดอกลำพูป่า ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่น โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ประมาณ 15-30 ดอก ลักษณะห้อยลง ดอกลำพูป่าจะบานในช่วงเวลากลางคืนถึงช่วงเช้า หุบในช่วงกลางวัน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ดอกเป็นสีขาวขนาดใหญ่ ประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกเป็นรูปถ้วย มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉกประมาณ 6-7 แฉก กว้างประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-3 เซนติเมตร แผ่ออก ส่วนกลีบดอกมี 6-7 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ขนาดยาวกว่ากลีบดอก อับเรณูสีเหลืองอมน้ำตาล เกสรเพศเมียจะยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว ก่อนจะออกดอกจะทิ้งใบหมดแล้วจะผลิใบใหม่ทันทีพร้อมกับเริ่มผลิดอก โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผลลำพูป่า ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมทรงกลม รูปไข่กว้าง รูปกลมแป้น หรือมีลักษณะแป้นเป็นรูปตลับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ และแตกอ้าออกตรงกลางพูเป็นเสี่ยง ๆ ที่ฐานมีชั้นกลีบเลี้ยงรูปดาวรองรับ กลีบเลี้ยงติดคงทน ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 6-7 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปเส้นยาวมีหาง โดยจะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และผลจะแก่เต็มที่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ใบลำพูป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปติ่งหู ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-24 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีนวลหรือเป็นคราบขาว เส้นแขนงใบมีประมาณ 14-20 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบกลายเป็นเส้นขอบใบชัดเจน เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได มองเห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะอวบ มีขนาดยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร ส่วนหูใบไม่มี
ดอกลำพูป่า ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่น โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ประมาณ 15-30 ดอก ลักษณะห้อยลง ดอกลำพูป่าจะบานในช่วงเวลากลางคืนถึงช่วงเช้า หุบในช่วงกลางวัน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ดอกเป็นสีขาวขนาดใหญ่ ประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกเป็นรูปถ้วย มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉกประมาณ 6-7 แฉก กว้างประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-3 เซนติเมตร แผ่ออก ส่วนกลีบดอกมี 6-7 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ขนาดยาวกว่ากลีบดอก อับเรณูสีเหลืองอมน้ำตาล เกสรเพศเมียจะยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว ก่อนจะออกดอกจะทิ้งใบหมดแล้วจะผลิใบใหม่ทันทีพร้อมกับเริ่มผลิดอก โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผลลำพูป่า ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมทรงกลม รูปไข่กว้าง รูปกลมแป้น หรือมีลักษณะแป้นเป็นรูปตลับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ และแตกอ้าออกตรงกลางพูเป็นเสี่ยง ๆ ที่ฐานมีชั้นกลีบเลี้ยงรูปดาวรองรับ กลีบเลี้ยงติดคงทน ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 6-7 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปเส้นยาวมีหาง โดยจะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และผลจะแก่เต็มที่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 ม. โคนต้นมีพูพอน กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 10-24 ซม. ปลายแหลมยาว โคนกลมหรือเว้าตื้น แผ่นใบด้านล่างมีนวล ก้านใบยาวได้ถึง 1 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 6-7 กลีบ หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย กลีบรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กลับ ยาว 1-3 ซม. บานออก ดอกสีขาว มีกลิ่นแรง กลีบรูปรี ยาว 4 ซม. ย่น ก้านกลีบยาว 2-4 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียง 2 วง อับเรณูติดไหว โค้ง รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ ออวุลจำนวนมาก ผลแห้งแตกเป็น 6-9 ซีก รูปไข่กว้างเกือบกลม กว้าง 4-4.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดจำนวนมาก รูปแถบ ยาว 4-6 มม. มี 2 หาง รูปเส้นด้าย
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ดอก สีขาวมีกลิ่นฉุน บานตอนกลางคืนถึงตอนเช้า หุบตอนกลางวัน ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กว้าง 1.5-3 ซม. ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก กว้าง 0.7-1.4 ซม. ยาว 1.2-3 ซม. แผ่ออก กลีบดอก 6-7 กลีบ รูปไข่ กว้าง 25.7-3.4 ซม. ยาว3-4 ซม. สีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงติดคงทน
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ดอก สีขาวมีกลิ่นฉุน บานตอนกลางคืนถึงตอนเช้า หุบตอนกลางวัน ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กว้าง 1.5-3 ซม. ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก กว้าง 0.7-1.4 ซม. ยาว 1.2-3 ซม. แผ่ออก กลีบดอก 6-7 กลีบ รูปไข่ กว้าง 25.7-3.4 ซม. ยาว3-4 ซม. สีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงติดคงทน
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ดอก สีขาวมีกลิ่นฉุน บานตอนกลางคืนถึงตอนเช้า หุบตอนกลางวัน ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กว้าง 1.5-3 ซม. ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก กว้าง 0.7-1.4 ซม. ยาว 1.2-3 ซม. แผ่ออก กลีบดอก 6-7 กลีบ รูปไข่ กว้าง 25.7-3.4 ซม. ยาว3-4 ซม. สีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงติดคงทน
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ดอก สีขาวมีกลิ่นฉุน บานตอนกลางคืนถึงตอนเช้า หุบตอนกลางวัน ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กว้าง 1.5-3 ซม. ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก กว้าง 0.7-1.4 ซม. ยาว 1.2-3 ซม. แผ่ออก กลีบดอก 6-7 กลีบ รูปไข่ กว้าง 25.7-3.4 ซม. ยาว3-4 ซม. สีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงติดคงทน
ระบบนิเวศ :
-
ขึ้นตามชายป่า ที่โล่ง ตามหุบเขา ริมลำธาร หรือที่ชุ่มชื้น ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร เนื้อไม้ใช้ทำกล่อง ไม้พาย เรือแคนู และก้านร่ม เปลือกมีพิษใช้เบื่อปลา
การกระจายพันธุ์ :
-
พบตามป่าริมน้ำทั่วไป ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 เมตร ออกดอกเดือน ก.พ.
-
พบตามป่าริมน้ำทั่วไป ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 เมตร ออกดอกเดือน ก.พ.
-
พบตามป่าริมน้ำทั่วไป ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 เมตร ออกดอกเดือน ก.พ.
-
พบตามป่าริมน้ำทั่วไป ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 เมตร ออกดอกเดือน ก.พ.
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
แพร่,น่าน
-
เพชรบูรณ์
-
นครศรีธรรมราช
-
กำแพงเพชร, ตาก
-
ลำพูน, ลำปาง
-
พะเยา
-
พะเยา
-
สตูล
-
แม่ฮ่องสอน
-
สุโขทัย
-
ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
-
กระบี่, ตรัง
-
ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, สระแก้ว
-
จันทบุรี
-
กระบี่, สุราษฎร์ธานี
-
พะเยา, น่าน
-
แม่ฮ่องสอน
-
แพร่
-
ชัยภูมิ, เพชรบูรณ์
-
สตูล, สงขลา
-
พังงา
-
สุโขทัย, ลำปาง
-
กาญจนบุรี, ตาก
-
กาญจนบุรี, ตาก
-
กาญจนบุรี, ตาก
-
กาญจนบุรี, ตาก
-
ชัยภูมิ
-
เพชรบูรณ์
-
พิษณุโลก
-
อุตรดิตถ์
-
ตาก
-
ตาก
-
แม่ฮ่องสอน
-
แพร่, อุตรดิตถ์
-
แม่ฮ่องสอน
-
แม่ฮ่องสอน
-
พะเยา
-
กาญจนบุรี
-
เชียงใหม่
-
กาญจนบุรี
-
เชียงใหม่
-
ชุมพร
-
หนองคาย, สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เทือกเขาห้วยตูน อ.ร้องกวาง แพร่ และ เขาดอยติ้ว อ.ท่าวังผา น่าน
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วังโป่ง-ชนแดน
-
อุทยานแห่งชาติ เขานัน
-
อุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า
-
อุทยานแห่งชาติ ดอยขุนตาล
-
อุทยานแห่งชาติ ดอยภูนาง
-
อุทยานแห่งชาติ ดอยภูนาง
-
อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา
-
อุทยานแห่งชาติ ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
-
อุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาประ-บางคราม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองเครือหวาย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองพระยา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเวียงหล้า
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยหลวง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตะเบาะ-ห้วยใหญ่
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนงาช้าง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนปริวรรต
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูผาแดง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง-ภูทอง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่จริม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ยวมฝั่งขวา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลำน้ำน่านฝั่งขวา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลุ่มน้ำปาย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลุ่มน้ำปาย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สะเมิง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สะเมิง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานเสด็จในกรมหลวงชุมพร
-
ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู หนองคาย, ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
ที่มาของข้อมูล
-
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศภูเขา (Mountain Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมป่าไม้
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช