ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 2-6 เมตร ลำต้น ตั้งตรง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกนอกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีแดงอมชมพู ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปวงรี หลังใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ท้องใบมีขนสั้นๆ ปลายป้านหรือมีติ่งที่ปลายใบ
ทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูมีขน ใบแก่สีเขียวไม่มีขนหรือมีขนห่างๆ ก้านล่างและเส้นใบด้านบน
เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่ ก้านใบมีขนสีแดงขณะยังอ่อน ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีเขียว ขนาดเล็ก ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ผล สดรูปทรงกลม เบี้ยว เมื่อสุกสีแดงคล้ำถึงดำ มีเมล็ดเดียว กลมหรือแบนเล็กน้อย มีขนปกคลุม ด้านบนมีติ่งเล็กๆ
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล ใบ:ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายมน กลม หรือแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ขอบใบเรียบแผ่นใบบางคล้ายกระดาษกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสั้นนุ่มถึงเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้ันแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบมีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบ ร่วงง่ายดอก:ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ซอกใบ แกนช่อดอกเพศผู้มีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปใบหอก มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ แยกจากกัน รูปสามเหลี่ยมถึงรูปขอบขนาน ปลายแหลมถึงมน ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4-6 อัน เกสรเพศเมียที่เป็นหมันรูปกรวยกลับ มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศเมียช่อยาวกว่าดอกเพศผู้ แกนช่อมีขนสั้นนุ่มมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปหอก มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบแยกจากกัน รูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่หรือกลม มีขนสั้นนุ่ม มี 1 ช่อง มีออวุล 2 เม็ด ยอดเกสรเพศเมี่ยเป็น 3 แฉกผล:ผลคล้ายผลผนังชั้นในแข็ง รูปกลมหรือรี เมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด ผลสุกสีม่วงแดง มี 1 เมล็ด เปลือก:อื่นๆ:ออกผลเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายมน กลม หรือแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ขอบใบเรียบแผ่นใบบางคล้ายกระดาษกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสั้นนุ่มถึงเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้ันแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบมีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบ ร่วงง่าย
ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ซอกใบ แกนช่อดอกเพศผู้มีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปใบหอก มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ แยกจากกัน รูปสามเหลี่ยมถึงรูปขอบขนาน ปลายแหลมถึงมน ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4-6 อัน เกสรเพศเมียที่เป็นหมันรูปกรวยกลับ มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศเมียช่อยาวกว่าดอกเพศผู้ แกนช่อมีขนสั้นนุ่มมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปหอก มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบแยกจากกัน รูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่หรือกลม มีขนสั้นนุ่ม มี 1 ช่อง มีออวุล 2 เม็ด ยอดเกสรเพศเมี่ยเป็น 3 แฉก
ผลคล้ายผลผนังชั้นในแข็ง รูปกลมหรือรี เมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด ผลสุกสีม่วงแดง มี 1 เมล็ด

ออกผลเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม
- ไม้พุ่ม กึ่ง ไม้ต้น
- ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น: สูงได้ถึง 20 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายมน กลม หรือแหลม ฐานใบกลมถึงรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนนุ่มถึงเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบมีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบ ร่วงง่าย ดอก: ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ซอกใบ แกนช่อดอกเพศผู้มีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปใบหอก มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ แยกจากกัน รูปสามเหลี่ยมถึงรูปขอบขนาน ปลายแหลมถึงมน ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4-6 อัน เกสรเพสเมียที่เป็นหมันรูปกรวยกลับ มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศเมียช่อยาวกว่าดอกเพศผู้ แกนช่อมีขนสั้นนุ่มมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปหอก มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบแยกจากกัน รูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่หรือกลม มีขนสั้นนุ่ม มี 1 ช่อง มีออวูล 2 เม็ด ยอกเกสรเพศเมียเป็น 3 แฉก ผล: ผนังชั้นในผลแข็ง รูปกลมหรือรี เมล็ดขนาด 1-2 เมล็ด ผลสุกสีม่วงแดง มี 1 เมล็ด
- ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 2-6 เมตร
ลำต้น : ตั้งตรง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกนอกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีแดงอมชมพู
ใบ : เดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปวงรี หลังใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ท้องใบมีขนสั้นๆ ปลายป้านหรือมีติ่งที่ปลายใบ
ทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูมีขน ใบแก่สีเขียวไม่มีขนหรือมีขนห่างๆ ก้านล่างและเส้นใบด้านบน
เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่ ก้านใบมีขนสีแดงขณะยังอ่อน
ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีเขียว ขนาดเล็ก ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
ผล - สดรูปทรงกลม เบี้ยว เมื่อสุกสีแดงคล้ำถึงดำ มีเมล็ดเดียว กลมหรือแบนเล็กน้อย มีขนปกคลุม ด้านบนมีติ่งเล็กๆ
ระบบนิเวศ :
- ขึ้นทั่วไปในที่โล่งบริเวณที่ลุ่มต่ำและป่าพรุ
มีเขตกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ชอบแสงแดดจัด ชอบดินร่วนซุย และความชื้นต่ำ
- ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม.
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- อุตรดิตถ์,แพร่
- พะเยา,น่าน
- สมุทรปราการ
- พะเยา, เชียงราย
- ระยอง
- ลำปาง
- นครศรีธรรมราช
- เลย
- อุบลราชธานี
- จันทบุรี
- สุราษฎร์ธานี
- นราธิวาส
- พะเยา, น่าน
- ลำพูน, ลำปาง
- ชัยภูมิ, เพชรบูรณ์
- สุโขทัย, ลำปาง
- กาญจนบุรี, ตาก
- กาญจนบุรี, ตาก
- อุบลราชธานี
- อุบลราชธานี
- ชัยภูมิ
- บึงกาฬ
- ตาก
- ราชบุรี
- อุบลราชธานี
- อุบลราชธานี
- แม่ฮ่องสอน
- พะเยา
- พะเยา
- กาญจนบุรี
- สุรินทร์
- สุรินทร์
- ตาก
- ลำปาง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภู ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุดจับ ป่าคำหัวแฮด ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง ป่าสงวนแห่งชาติป่าประดางและป่าวังก์เจ้า ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงโพนทราย ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเป้ง ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน) ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว
- อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์, อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย แพร่
- อำเภอเชียงคำ อำเภอปง พะเยา, อำเภอสองแคว น่าน
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับพญาลอ
- อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
- อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อน
- อุทยานแห่งชาติ น้ำตกโยง
- อุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง
- อุทยานแห่งชาติ ภูจอง-นายอย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาเมือง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตะเบาะ-ห้วยใหญ่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก-ยอดมน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก-ยอดมน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ยอดโดม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ยอดโดม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลุ่มน้ำปาย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
การกระจายพันธุ์ :
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดดจัด ชอบดินร่วนซุย ความชื้นต่ำ พบทั่วไปตามทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าบุ่งป่าทาม ที่ลุ่มน้ำขัง ขอบป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล ในประเทศไทยพบได้ทั่วประเทศ ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 เมตร ต่างประเทศพบในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้พุ่ม/ไม้ต้น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ราก ใบ ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ราก : ผสมรากถอบแถบ รากไมยราบ และรากพริกขี้หนู อย่างละเท่าๆ กัน ฝนผสมกับสุรา ใช้สำลีชุบพอกบาดแผลแก้พิษงูทุกชนิด ใบ ผล : ต้มน้ำกินและอาบแก้อาการโลหิตจาง ซีด การไหลโลหิตไม่ดี
- อาหาร,ใบอ่อนและผลดิบใช้ปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสเปรี้ยวรับประทานได้
- ตำรายาไทยใช้ใบและผลเม่าไข่ปลา นำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการโลหิตจาง ซีดเหลือง เลือดไหลเวียนไม่ดี (ผลต้นและรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย (ต้นและราก เปลือกต้น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ หรือใช้ผลทำเป็น ยาพอก แก้อาการปวดศีรษะก็ได้ ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ผลผสมกับ น้ำอาบเพื่อแก้อาการไข้ ผลสุกใช้กินแก้คอแห้ง แก้อาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการท้องอืด ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องบวม ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ช่องท้องบวม ต้นและรากมีรสจืด ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้เป็น ยาแก้มดลูกพิการ มดลูกช้ำบวม อาการตกขาวของสตรี ช่วยขับโลหิตและน้ำคาวปลา ของสตรี ต้นและรากมีสรรพคุณช่วยบำรุงไต เปลือกต้นใช้เป็นยาฝาดสมาน ใบใช้เป็น ยาทาแก้โรคผิวหนัง ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ