ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้น เปลาตรง เปลือกเทาปนดำ ผิวแตกเป็นร่องเล็กๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลปนแดง เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบใบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูเรื่อ ๆ ใบ แก่สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีผิวมันเคลือบเห็นชัดเจน มีต่อมใสๆ ในแผ่นใบหลายต่อม ดอก ขนาดเล็กสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ –พฤษภาคม ผล เป็นผลสดค่อนข้างกลม ผลสุกสีเหลืองถึงส้ม
- ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-15 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ ลำต้นมักคดงอเปลือกนอกค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดและเป็นหลุมตื้นๆ สีน้ำตาลเทาถึงคล้ำ เปลือกชั้นใน สีน้ำตาล ยอดอ่อนปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลไหม้
ใบ เดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง รูปขอบขนาน ขนาด 4-7x7-20 ซม. โคนใบมนถึงกลม ขอบใบเรียบ ปลายใบสอบเป็นติ่งทู่ เส้นกลางใบยุบตัว มีเส้นแขนง 6-12 คู่ แต่ละเส้นมักคดงอ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห มองเห็นไม่ชัดเจน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านหรือด้านล่างเกือบเกลี้ยง ใบอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนประปราย
ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ออกที่ง่ามใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกย่อยสีขาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.2 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4(5) กลีบ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.3 ซม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน กลีบดอกยาวประมาณ 0.7 ซม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปทรงไข่ ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ เกสรเพศผู้ 20-21 อัน ดอกเพศเมียมักออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่าและกลีบเลี้ยงมีขนแบบ ขนแกะปกคลุมทั้ง 2 ด้าน ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงไข่ถึงกลม ขนาด 3-3.5x3-5 ซม. ผลแก่นุ่มฉ่ำน้ำ มีขนและเกล็ดละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุม หลุดร่วงง่าย กลีบจุกผลขอบหยักลึกเกือบไม่ติดกัน แต่ละกลีบมักพับกลับ ขอบกลีบเป็นคลื่น พื้นกลีบพับย่น ไม่มีลายเส้นกลีบ ก้านผลยาว 1 ซม. มี 8 เมล็ด ผลแก่ระหว่างเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์
- ไม้ต้น สูง 8-15 เมตร
ลำต้น : เปลาตรง เปลือกเทาปนดำ ผิวแตกเป็นร่องเล็กๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลปนแดง เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบใบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูเรื่อ ๆ
ใบ : แก่สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีผิวมันเคลือบเห็นชัดเจน มีต่อมใสๆ ในแผ่นใบหลายต่อม
ดอก : ขนาดเล็กสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ –พฤษภาคม
ผล : เป็นผลสดค่อนข้างกลม ผลสุกสีเหลืองถึงส้ม
ระบบนิเวศ :
- พบตามป่าชายเลน ชายป่าดงดิบ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ห้วย หนอง ทั่วๆ ไปในประเทศ ระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 50-400 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- พังงา
- สมุทรปราการ
- สงขลา
- เพชรบูรณ์
- เพชรบูรณ์
- จันทบุรี
- ระยอง, จันทบุรี
- จันทบุรี
- สตูล
- สตูล
- ปัตตานี
- นครศรีธรรมราช
- นราธิวาส
- ตรัง, สตูล
- จันทบุรี
- จันทบุรี
- ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, สระแก้ว
- ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, สระแก้ว
- ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, สระแก้ว
- สุราษฎร์ธานี, ระนอง
- สุราษฎร์ธานี, ระนอง
- สุราษฎร์ธานี
- สุราษฎร์ธานี
- ชุมพร, ระนอง
- ชุมพร, ระนอง
- นราธิวาส
- พะเยา, น่าน
- พะเยา, น่าน
- ชัยภูมิ, เพชรบูรณ์
- สตูล, สงขลา
- พังงา
- สุโขทัย, ลำปาง
- ระนอง, ชุมพร
- กาญจนบุรี, ตาก
- กาญจนบุรี, ตาก
- ราชบุรี
- พะเยา
- พะเยา
- ลำปาง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)
- ป่าชายเลนคุระบุรี, อ่าวจาก คลองคุระบุรี
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขาปะช้าง-แหลมขาม
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วังโป่ง-ชนแดน
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วังโป่ง-ชนแดน
- อุทยานแห่งชาติ เขาคิชฌกูฏ
- อุทยานแห่งชาติ เขาชะเมา-เขาวง
- อุทยานแห่งชาติ เขาสิบห้าชั้น
- อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา
- อุทยานแห่งชาติ ทะเลบัน
- อุทยานแห่งชาติ น้ำตกทรายขาว
- อุทยานแห่งชาติ น้ำตกโยง
- อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี
- อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะเภตรา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองนาคา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองยัน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ควนแม่ยายหม่อน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ควนแม่ยายหม่อน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตะเบาะ-ห้วยใหญ่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนงาช้าง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนปริวรรต
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งระยะ-นาสัก
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
การกระจายพันธุ์ :
- ภาคใต้ของประเทศไทย และมาเลเซีย (เฉพาะบนคาบสมุทร)
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ราก เปลือกต้น เนื้อไม้ ดอก ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ราก : แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต แก้โรคธาตุ พิการ แก้แผลน้ำกัดเท้า เปลือกต้น : บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้โรคกามตายด้าน บำรุงให้เกิดความกำหนัด แก้แผลน้ำกัดเท้า ยาห้ามเลือด เนื้อไม้ : บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง แก้แผลน้ำกัดเท้า ดอก : แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต ผล : แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง ปิดธาตุ
ที่มาของข้อมูล