ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่ม
- ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตัวแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปหอก ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบที่โคนก้านใบ และโคนใบย่อย ดอก: ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกเป็นรูปคล้ายดอกถั่วสีเหลืองอ่อน ผล: ผลเป็นฝักแบนมีเมล็ดเดียว เปลือก: เปลือกสีน้ำตาล ผิวเรียบ
- ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตัวแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปรีหรือรูปหอก ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบที่โคนก้านใบ และโคนใบย่อย ดอก: ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกเป็นรูปคล้ายดอกถั่วสีเหลืองอ่อน ผล: ผลเป็นฝักแบนมีเมล็ดเดียว เปลือก: เปลือกสีน้ำตาล ผิวเรียบ
- ต้นสูง 170.49-261.75 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 17.62-23.24 มิลลิเมตร ใบบนยาว 6-8.42 เซนติเมตร กว้าง 3.05-4.19 เซนติเมตร  ใบข้างยาว 4.17-6.33 เซนติเมตร กว้าง 2.13-3.15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.77-3.25 เซนติเมตร  ความยาวช่อดอก 1.69-2.63 เซนติเมตร ฝักยาว 2.43-3.29 เซนติเมตร กว้าง 0.44-0.56 เซนติเมตร มี 5-14 ฝักต่อช่อ
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้พุ่ม
- ไม้พุ่ม
- เป็นไม้พุ่ม (shrub)  ต้นสูง ปลายยอดค่อนข้างตั้ง ลำต้นมีขนปกคลุมจำนวนมาก ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อยและมีก้านใบ (pinnately-trifoliate)  รูปร่างใบแบบรูปไข่แกมใบหอก (ovate  lanceolate)   โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม ขนาดของใบใหญ่กว่าใบแกลบหนู (Dendrolobium lanceolatum ) ผิวใบนุ่มกว่าใบแกลบหนู หน้าใบและหลังใบมีขนสีขาวจำนวนมากมองเห็นชัดเจน บริเวณเส้นกลางใบมีขนสีขาวสั้นๆ เส้นใบและเส้นกลางใบด้านหลังนูนขึ้นชัดเจน การเรียงตัวของเส้นใบแบบร่างแห (reticulate) ขอบใบสีน้ำตาลอ่อน ขอบหยักแบบขนครุย (ciliate) ก้านใบมีขนคลุมมาก  หูใบเรียวแบบหนาม (spinous)  ออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน ดอกออกตามซอกใบและตาข้าง  ดอกเป็นกลุ่ม มีก้านดอกรวมสั้น ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาวนวล-เหลืองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลือง   รูปฝักแบบฝักถั่ว (loment) ค่อนข้างแบน ฝักโค้งงอเป็นครึ่งวงกลม มี 3-6 ข้อ รอยคอดระหว่างข้อลึก หักเป็นข้อๆได้ ฝักแก่ไม่แตกง่าย
ระบบนิเวศ :
- พบในป่าเต็งรัง
- พบในป่าเต็งรัง
การกระจายพันธุ์ :
- พบขึ้นกระจายทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ พื้นที่ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ ป่าทาม สภาพดิน ทราย ดินร่วนปนลูกรัง ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37-149 เมตร
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- ศรีสะเกษ, ยโสธร, เชียงใหม่
- ราชบุรี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บ้านมูลมั่นคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ดอยขุนแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด