ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้เถาเลื้อย อายุหลายปี ยาว ๑ – ๓ ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ แตกแขนงขนาดเล็ก มีดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผลรูปทรงกลม สีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง
- ไม้เถา มีรอยแผลเป็นตามเถาและกิ่ง มีขนประปรายหรือเกลี้ยง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง 2-4(-8.5) เซนติเมตร ยาว 6.5–11(-17) เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ โค้งกว้าง หรือรูปกึ่งหัวใจ ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยง เนื้อคล้ายกระดาษ มีเส้นใบออกจากโคนหรือใกล้โคน 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบข้างละ 2-6 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร ดอก เป็นช่อแยกเพศต่างช่อร่วมต้น อาจเป็นแบบช่อกระจะเทียม ช่อกระจุกมีก้าน มีดอก 1-3 ดอก ออกตามซอกใบหรือตามเถา ยาว 2-8(-17) เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง กลีบเลี้ยงมี 6–12 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ชั้นนอกสุดมีขนาดเล็กที่สุด ชั้นในมีขนาดใหญ่กว่ารูปรีกว้าง ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ค่อนข้างเกลี้ยง กลีบดอกเล็กมาก มี 3 หรือ 6 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายเว้าตื้น เกลี้ยง เกสรเพศผู้มี 3 อัน รูปกระบอง ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ แต่กลีบเลี้ยงชั้นในรูปกลม ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนประปราย กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีคาร์เพล 8-9 คาร์เพล ติดอยู่บนก้านชูเกสรเพศเมียสั้น ๆ แต่ละคาร์เพลยาวไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียไม่มีก้าน ผล แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปไข่กลับ กว้าง 6-7 มิลลิเมตร ยาว 0.7-1 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ผนังชั้นในมีสันเรียงไม่เป็นระเบียบ เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดง เมล็ด รูปเกือกม้า
- ไม้เถาเลื้อย อายุหลายปี ยาว ๑ – ๓ ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ แตกแขนงขนาดเล็ก มีดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผลรูปทรงกลม สีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง
- ใบกว้าง 2.8-3.5 เซนติเมตร ยาว 9.1-10.8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.1-1.7 เซนติเมตร
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พบที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 330 เมตร โดยพบทั่วไปในหลายพื้นที่ เช่น ในสภาพดินร่วนปนเหนียวของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
การกระจายพันธุ์ :
- พืชชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียตอนเหนือ (รัฐอัสสัม) พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และคาบสมุทรมาลายู ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักพบขึ้นตามเขาหินปูน ในป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากตามที่รกร้าง ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 เมตร ออกดอกและติดผลประมาณเดือนธันวาคมถึงกรกฎาคม
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ
ราก : มีขนาดใหญ่
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม.
ดอก : ออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก
ผล : รูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
- ไม้เถา เลื้อยพัน ลักษณะเป็นพืชใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate-oblong) หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ (ovate-lanceolate) หน้าใบและหลังใบมีขนสั้น จำนวนเล็กน้อย จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ออกดอกตามซอกใบแยกเพศคนละต้น ไม่มีกลีบดอก ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้นๆละเอียดปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นผลกลุ่ม เมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
การขยายพันธุ์ :
- การเพาะเมล็ด หรือใช้เหง้าเถาที่เลื้อย
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นครราชสีมา
- ราชบุรี
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สรรพคุณตามตำราไทย ใบ แก้อาการเคล็ดบวม แก้บวม แก้ปวดเมื่อย เหง้า แก้อาการเคล็ดบวม แก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม ช่วยขับประจำเดือนให้สะดวก แก้บิด สมานลำไส้ ราก ระงับประสาท ทำให้สลบ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้กระเพาะอาหารเป็นพา แก้ลำไส้เป็นแผล แก้ช้ำ บวม เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ แก้อาการบอบช้ำ
ข้อมูลภูมิปัญญา
- สมุนไพรล้างพิษ :: 1. ย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) ชื่ออื่น ๆ : จ้อยนาง, เถาย่านาง, เถาวัลย์เขียว, ยาดนาง, ย่านวันยอ, จอยนาง, ปู่เจ้าเขาเขียว และขันยอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ : - ใบ : สำหรับรับประทาน โดยการนำใบไปต้มกับน้ำสะอาดแล้วดื่ม เพื่อถอนพิษ แก้ไข้ แก้รากสาด ไข้หัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ และไข้ดำแดง, สำหรับใช้ภายนอก โดยการนำใบไป (1) ตำและพอกตรงจุดที่มีรอยฟกช้ำ มีสิว และมีฝีหนองทันที (2) คั้นให้ได้น้ำและผสมดินสอพอง ทาบริเวณหัวสิวหรือบริเวณที่เป็นฝีหนอง นอกจากนี้ เมื่อ (3) ขยี้ใบให้ได้สีเขียวมากที่สุด นำไปหมักผมและทิ้งไว้ 1 คืน และล้างออก เป็นการบำรุงผมและแก้ปัญหาผมร่วงให้ดีขึ้น