ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้เถาล้มลุก มีขนต่อมยาวตามหูใบ ก้านใบ แผ่นใบ และใบประดับ หูใบจักชายครุยลึก ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 3-13 ซม. โคนแฉกลึก มีต่อมน้ำต้อยใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 2-6 ซม. ช่อดอกลดรูปคล้ายออกเดี่ยว ๆ ตรงข้ามมีมือจับ ใบประดับและใบประดับย่อยจักลึก เชื่อมติดกัน ติดทน หุ้มผล ดอกสีขาวหรืออมม่วง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน รูปรี ยาว 1.5-2 ซม. ด้านหลังกลีบเลี้ยงมีสันเป็นเขาสีเขียว กะบังเรียง 3-5 วง วงนอกยาวประมาณ 1 ซม. วงในยาว 1-3 มม. ขอบในบาง จานฐานดอกสูง 1-2 มม. ก้านชูเกสรร่วมยาว 5-7 มม. อับเรณูยาวประมาณ 4 มม. รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-6 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ซม.
-
ไม้เถาล้มลุก อายุปีเดียว ยาวได้ถึง ๓ เมตร ตามส่วนต่างๆ มีขนแบบปลายมีต่อมเหนียวมือและมีกลิ่นฉุน ซอกใบมีมือพัน ใบรูปไข่ปลายใบหยักเป็นสามพูตื้น-ลึก มีขนทั้งสองด้าน โคนใบเว้า ดอกออกเดี่ยว มีกลีบดอก ๑๐ กลีบ สีขาว โคนกลีบสีม่วง ดอกบานกว้าง ๓-๕ เซนติเมตร มีกระบังเป็นเส้นจำนวนมากรอบเกสร ผลทรงกลม กว้าง ๒-๓ เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงจักเป็นฝอยปกคลุม เมื่อสุกสีเหลืองมีเมล็ดจำนวนมาก ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ข้างทาง ไร่นา แม้แต่ตามกองขยะ กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีนกเป็นพาหะ ที่สำคัญช่วยกระจายเมล็ดไปได้ทั่ว ขึ้นที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร
-
ไม้เถาล้มลุก มีขนต่อมยาวตามหูใบ ก้านใบ แผ่นใบ และใบประดับ หูใบจักชายครุยลึก ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 3-13 ซม. โคนแฉกลึก มีต่อมน้ำต้อยใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 2-6 ซม. ช่อดอกลดรูปคล้ายออกเดี่ยว ๆ ตรงข้ามมีมือจับ ใบประดับและใบประดับย่อยจักลึก เชื่อมติดกัน ติดทน หุ้มผล ดอกสีขาวหรืออมม่วง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน รูปรี ยาว 1.5-2 ซม. ด้านหลังกลีบเลี้ยงมีสันเป็นเขาสีเขียว กะบังเรียง 3-5 วง วงนอกยาวประมาณ 1 ซม. วงในยาว 1-3 มม. ขอบในบาง จานฐานดอกสูง 1-2 มม. ก้านชูเกสรร่วมยาว 5-7 มม. อับเรณูยาวประมาณ 4 มม. รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-6 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ซม.
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
ลำปาง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,สมุนไพร,ผลสุกรับประทานได้ ใบแก่ปรุงเป็นยาขับสัสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ
-
ไม้ประดับ
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช