ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นมีสีเขียวอมแดงหรือน้ำตาล มีขนหยาบยาว หูใบรูปสามเหลี่ยม ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 1.2-4 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนกระจายทั้งสองด้าน เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบยาว 1-3 มม. ช่อดอกออกตามซอกใบ 1-6 ช่อ ก้านช่อยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกเรียงแน่นแบบช่อกระจุกซ้อน ใบประดับรูปแถบ ยาว 0.5-1 มม. วงใบประดับรูปถ้วยสูงประมาณ 0.8 มม. มีต่อมสีชมพู 4 ต่อม ยาวประมาณ 0.1 มม. ปลายมีรยางค์ยาว 0.2-0.3 มม. ก้านชูอับเรณูสั้น ติดบนก้านดอก รังไข่มีก้าน เกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.3 มม. ผลจัก 3 พู ยาวประมาณ 1 มม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านผลยาวประมาณ 0.5 มม. เมล็ดรูปรีเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.7 มม. สีน้ำตาลแดง เรียบ
-
พืชล้มลุก อายุปีเดียว ต้นตั้งตรงสูง ๑๕-๕๐ เซนติเมตร มีน้ำยางสีขาวขุ่นตามส่วนต่างๆ มีขนสั้น ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม ใบรูปขอบขนานหรือรูปรีและไม่สมมาตร ยาว ๑-๔ เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ขอบเรียบ-หยักเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนอาจมีสีแดงอมน้ำตาลแต้มที่กลางแผ่น ก้านใบยาว ๑-๓ มิลลิเมตร ช่อดอกออกกระจุกค่อนข้างกลม ออกตามซอกใบ สีเขียวหรือแต้มสีม่วงอมน้ำตาลติดเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ชอบขึ้นทั่วไปตามที่โล่ง ไร่นา ข้างถนน แทรกอยู่กับหญ้าตามพื้นดิน ทนแล้งได้ดี ขึ้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
-
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นมีสีเขียวอมแดงหรือน้ำตาล มีขนหยาบยาว หูใบรูปสามเหลี่ยม ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 1.2-4 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนกระจายทั้งสองด้าน เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบยาว 1-3 มม. ช่อดอกออกตามซอกใบ 1-6 ช่อ ก้านช่อยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกเรียงแน่นแบบช่อกระจุกซ้อน ใบประดับรูปแถบ ยาว 0.5-1 มม. วงใบประดับรูปถ้วยสูงประมาณ 0.8 มม. มีต่อมสีชมพู 4 ต่อม ยาวประมาณ 0.1 มม. ปลายมีรยางค์ยาว 0.2-0.3 มม. ก้านชูอับเรณูสั้น ติดบนก้านดอก รังไข่มีก้าน เกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.3 มม. ผลจัก 3 พู ยาวประมาณ 1 มม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านผลยาวประมาณ 0.5 มม. เมล็ดรูปรีเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.7 มม. สีน้ำตาลแดง เรียบ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปอเมริกาตอนกลาง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
ลำปาง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
-
โดยนำมาใช้ต้มอาบ หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 30 กรัม นำมาตุ๋นกับหมูประมาณ 120 กรัมรับประทาน (ต้น,ทั้งต้น) ทั้งต้นใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคตานขโมย (ผอม พุงโรก้นปอด)
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
คู่มือพันธ์ุไม้ท้องถิ่น ตำบลแม่กิ๊ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช