ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ระบบนิเวศ :
- In dry evergreen forests.
การกระจายพันธุ์ :
- Cambodia.
- ในประเทศไทยพบทั่วไปทั้งป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง ต่างประเทศพบบริเวณศรีลังกา จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย
- พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียเขตร้อน (3) ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป มีปลูกตามสวนบ้านสำหรับใช้ทำยา
- ในประเทศไทยพบทั่วไปทั้งป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง ต่างประเทศพบบริเวณศรีลังกา จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- SakonNakhon,Chanthaburi
- สุราษฎร์ธานี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ลำต้นเหนือดินสูง 1 - 1.5 ม. เหง้าสีเหลืองอ่อนแกมเขียว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกออกจากเหง้า ใบประดับสีเขียว ขอบใบประดับเป็นแผ่นบางใสสีครีม กลีบเลี้ยงบางใสสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลีบปากสีเหลืองอ่อน
- ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงได้ถึง 2 เมตร เหง้าอวบหนา ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเฉพาะ กาบใบเรียงสลับโอบกันแน่นชูเหนือดินเป็นลำต้นเทียม แตกกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอก กว้าง 5-7.5 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ลิ้นใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกจากเหง้า ก้านช่อตั้งตรงขึ้นเหนือดินยาว 14-45 เซนติเมตร รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปทรงกระบอก รูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลม เรียวแหลม หรือมน ใบประดับรูปไข่กลับหรือรูปรีกว้าง กว้าง 1.2-5.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10.5 เซนติเมตร ปลายมนแกมโค้งกว้างหรือป้าน มักงุ้มเข้า เรียงซ้อนกันแน่น สีค่อนข้างเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นแดง หรือน้ำตาล ขอบสีเขียวอ่อน แต่ละซอกใบประดับมีดอกสีเหลือง 1 ดอก กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดบางใส ยาว 1.2-2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีเหลือง สีเหลืองเข้ม หรือสีขาวแกมเหลือง โคนติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นสามแฉก แฉกบนรูปค่อนข้างกลม กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร แฉกข้างรูปไข่กลับ แคบกว่า ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้เป็นหมันที่เปลี่ยนไปเป็นกลีบปากยาวประมาณ 6 เซนติเมตร รูปไข่ รูปเกือบกลม หรือรูปคล้ายรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 1.2-2 เซนติเมตร สีส้มหรือสีเหลือง ปลายแยกเป็น 2 แฉกตื้น ๆ และจะแยกออกลึกขึ้นเมื่อดอกใกล้โรย เกสรเพศผู้เป็นหมันที่เหลือรูปรี รูปคล้ายรูปไข่กลับ หรือรูปเกือบกลม สีเดียวกับกลีบปาก กว้าง 3-8 มิลลิเมตร ยาว 6-8 มิลลิเมตร อยู่ขนาบสองข้างของโคนกลีบปากและเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูเป็นหงอนยาวและโค้งหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ที่ยาวขึ้นไปเหนืออับเรณู รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ผล แบบผลแห้งแตก รูปค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร สีแดง เมล็ดรูปรีแกมรูปหยดน้ำ กว้างยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร สีดำ
- ลำต้นเหนือดินสูง 1 - 1.5 ม. เหง้าสีเหลืองอ่อนแกมเขียว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกออกจากเหง้า ใบประดับสีเขียว ขอบใบประดับเป็นแผ่นบางใสสีครีม กลีบเลี้ยงบางใสสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลีบปากสีเหลืองอ่อน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน
- ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
ข้อมูลภูมิปัญญา
- สิ่งนี้เรียกว่า...”กระทือ”ที่ไม่ใช่"ซึมกะทือ" :: ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.วงศ์ : Zingiberaceaeชื่ออื่น ๆ : กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ เฮียวแดง (ภาคเหนือ), เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน), Shampoo Ginger, Bitter ginger, Wild Ginger, Pinecone ginger, Awapuhi shampoo plant, Awapuhi ginger, Awapuhi kuahiwi• การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียใต้ บริเวณประเทศอินเดีย และศรีลังกา ต่อมามีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังบริเวณเขตร้อนใกล้เคียง เช่น บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, มาเลเซีย, ลาว, อินโดนีเซีย • แหล่งที่พบ : พบได้ในป่าเบญจพรรณระดับพื้นล่างจนถึงป่าดิบเขาสูง เป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุยหรือดินร่วนปนทราย