ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อุตรดิตถ์,แพร่
-
อุบลราชธานี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์, อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย แพร่
-
ผาแต้ม
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. รากอวบหนา มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบทั้งสองด้าน ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก รังไข่ และผล ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5.5-12 ซม. โคนมน ขอบเป็นต่อมคล้ายจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 9-14 ซม. ดอกสีแดงเลือดนก จานฐานดอกรูปวงแหวน ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับ ยาว 2-3 มม. กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว 4-5 มม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 0.8-1.5 ซม. ขยายในผลยาว 1.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ยาว 2-5 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 4-5 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม.
การกระจายพันธุ์ :
-
พบที่ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือที่โล่งแห้งแล้ง ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตร
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช