ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 0.7-1.8 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. ปลายใบมน ฐานใบทู่หรือเว้ารูปหัวใจ ดอก สีม่วงแกมชมพู ออกเป็นช่อ จากปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกย่อยรูปดอกถั่ว ขนาดบาน ยาว 0.7 ซม. กลีบรองดอกปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่กว้างเกือบกลม มีหยักเว้าเล้กน้อย เกสรผู้ 10 อัน รังไข่มีขนปกคลุม ผล เป็นฝักรูปรี กว้าง 0.6 ซม. ยาว 1.3 ซม. มีขนสั้นปกคลุม แก่แล้วแตกด้านข้าง เมล็ด มีขนาดเล็ก 8-10 เมล็ด
- ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 0.7-1.8 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. ปลายใบมน ฐานใบทู่หรือเว้ารูปหัวใจ ดอก สีม่วงแกมชมพู ออกเป็นช่อ จากปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกย่อยรูปดอกถั่ว ขนาดบาน ยาว 0.7 ซม. กลีบรองดอกปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่กว้างเกือบกลม มีหยักเว้าเล้กน้อย เกสรผู้ 10 อัน รังไข่มีขนปกคลุม ผล เป็นฝักรูปรี กว้าง 0.6 ซม. ยาว 1.3 ซม. มีขนสั้นปกคลุม แก่แล้วแตกด้านข้าง เมล็ด มีขนาดเล็ก 8-10 เมล็ด
- ลำต้นยาว 49.69-67.79 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.56-1.98 มิลลิเมตร ใบบนมีความยาว 2.4-2.96 เซนติเมตร กว้าง 1.52-1.9 เซนติเมตร ใบข้างยาว 1.69-2.21 เซนติเมตร กว้าง 1.02-1.36  เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.61-1.15 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจะ(raceme) ยาว 3.3-5.02 เซนติเมตร   ดอกเดี่ยวมี 10-14 ดอกต่อช่อ ฝักยาว 0.68-1 เซนติเมตร กว้าง 0.45-0.63 เซนติเมตร มีจำนวน 7-14 ฝักต่อช่อ
การกระจายพันธุ์ :
- เขตร้อนของทวีปแอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวกินี พบขึ้นตามทุ่งหญ้าและที่ เปิดโล่งของป่าผลัดใบ ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
- เขตร้อนของทวีปแอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวกินี พบขึ้นตามทุ่งหญ้าและที่ เปิดโล่งของป่าผลัดใบ ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
- พบขึ้นทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ที่โล่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ สภาพดินร่วนทราย ดินลูกรัง ดินร่วน ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- เป็นไม้ล้มลุก(herb) ลำต้นเป็นเถาแบบเลื้อยพัน (climbing) ลำต้นสีเขียว-น้ำตาล มีขนสีน้ำตาลยาว 1-2 มิลลิเมตรปกคลุมจำนวนมาก การเรียงตัวของใบแบบมี 3 ใบย่อยและมีก้านใบ (pinnately-trifoliate) ใบรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบเรียว แผ่นใบช่วงกลางกว้าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหยาบ  หน้าใบมีรอยย่นและการเรียงตัวของเส้นใบแบบร่างแห มีขนสีขาวยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรปกคลุมอยู่มาก  หลังใบมีขนสั้นกว่า (ประมาณ 2 มิลลิเมตร) ปกคลุมจำนวนมากเช่นกัน ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนปกคลุมจำนวนมาก หูใบ (stipule)เป็นแถบเรียวแบบหนามหรือแหลม เริ่มออกดอกเดือนตุลาคม ดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง ดอกรูปดอกถั่วมีขนาดเล็ก สีม่วง ฝักสีเขียวอ่อน มีข้อเดียวขนาดค่อนข้างใหญ่ มีขนยาวสีขาว 2-3 มิลลิเมตรปกคลุมอยู่มาก
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
สถานที่ชม :
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด