ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งสูงได้ถึง 1 ม. มีขนหยาบตามลำต้น แกนใบประกอบ ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง และช่อดอก แกนกลางใบรวมก้านยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 2 คู่ เรียงชิดกันคล้ายรูปฝ่ามือ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5-4 ซม. ดอกไร้ก้าน รูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ฝักรูปขอบขนาน ยาว 1.5-1.8 ซม. ขอบมีขนแข็ง
- ไม้ล้มลุกแผ่คลุมพื้นดิน สูงได้ถึง 1 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยชั้นแรก 2 หรือ 4 คู่ ยาว 2.5-6 ซม. ใบย่อยชั้นรอง 12-25 คู่ รูปขอบขนานโค้ง กว้าง 1.3-2 มม. ยาว 5-11 มม. ดอก สีม่วงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5-3.8 ซม. กลีบรองดอก เล็กมาก กลีบดอกคล้ายเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ยาว 1.9-2.3 มม. เกสรผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ออกติดกันเป็นกระจุกกลม มีข้อปล้องชัดเจน ตะเข็บข้าง มีขนแข็ง
- พืชล้มลุกทอดเลื้อยตามพื้นดิน อายุหลายปี ยาว ๐.๓-๑ เมตร ลำต้นกลม มักมีสีน้ำตาลแดง มีขนประปราย และมีหนามสั้น แข็งแรงและแหลมคม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีช่อใบย่อย ๒ คู่ ใบย่อยรูปแถบ ยาว ๖-๑๕ มิลลิเมตร ช่อใบจะหุบเมื่อถูกสัมผัส ช่อดอกสีชมพู เป็นกระจุกทรงกลม กว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ออก ๑-๓ ช่อ/ซอกใบ ฝักรูปขอบขนานยาว ๑-๒ เซนติเมตร หยักคอดตามแนวเมล็ด มีขนแข็งหนาแน่น ชอบขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ข้างทาง หรือที่รกร้าง ขึ้นแทรกกับหญ้าอื่นๆ ได้ดี มีหนามแหลมคมและแข็งแรง สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่เดินเหยียบย่ำ ทนแล้ง ทนทานต่อดินที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีเศษหินปูน หรืออยู่ใต้ร่มเงาหญ้าอื่นๆได้ดี มีรากแข็งแรงถอนยาก มักพบระบาดมากตามพื้นที่มีปศุสัตว์เดินเข้าไปหากิน เพราะเมล็ดจะติดไปกับขนและมูลสัตว์ ขึ้นที่ระดับความสูงน้อยกว่า ๑,๓๐๐ เมตร ลงมา
- ไม้ล้มลุกแผ่คลุมพื้นดิน สูงได้ถึง 1 เมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยชั้นแรก 2 หรือ 4 คู่ ยาว 2.5-6 ซม. ใบย่อยชั้นรอง 12-25 คู่ รูปขอบขนานโค้ง กว้าง 1.3-2 มม. ยาว 5-11 มม. ดอก สีม่วงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5-3.8 ซม. กลีบรองดอก เล็กมาก กลีบดอกคล้ายเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ยาว 1.9-2.3 มม. เกสรผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ออกติดกันเป็นกระจุกกลม มีข้อปล้องชัดเจน ตะเข็บข้าง มีขนแข็ง
- ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งสูงได้ถึง 1 ม. มีขนหยาบตามลำต้น แกนใบประกอบ ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง และช่อดอก แกนกลางใบรวมก้านยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 2 คู่ เรียงชิดกันคล้ายรูปฝ่ามือ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5-4 ซม. ดอกไร้ก้าน รูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ฝักรูปขอบขนาน ยาว 1.5-1.8 ซม. ขอบมีขนแข็ง
การกระจายพันธุ์ :
- พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นวัชพืชขึ้นได้ในที่ชื้นแฉะ และข้างทางเปิดโล่ง ออกดอกตลอดปี
- พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นวัชพืชขึ้นได้ในที่ชื้นแฉะ และข้างทางเปิดโล่ง ออกดอกตลอดปี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ถิ่นกำเนิด :
- ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- ลำปาง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร,ทั้งต้นนำไปทำเป็นชาช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
- สมุนไพร
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2012)
ที่มาของข้อมูล