ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ เป็นใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 5-9 ใบ ออกตรงข้าม รูปรี ถึงรูปไข่กลับ ใบย่อยปลายสุด กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายใบมนกลม ดอก สีส้มแกมชมพู ออกเป็นช่อแน่น ตั้งขึ้น ยาว 10-20 ซม. ใบประดับเรียวยาว หลุดร่วงง่าย ดอกย่อย รูปดอกถั่ว ขนาด 4-6 มม. กลีบรองดอกรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบน รูปไข่กลับ ด้านนอกมีขน กลีบข้างรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างเชื่อมกัน คล้ายรูปท้องเรือ เกสรผู้ 10 อัน รังไข่เกลี้ยง ผล เป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง 0.2 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. มีขนสีน้ำตาล หนาแน่น ผลแก่แล้วแตก มี 6-9 เมล็ด
- ไม้พุ่มล้มลุก อายุปีเดียว สูงได้ถึง 1.5 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำบริเวณโคนต้น กิ่งก้านทอดเอนและมีขนสีน้ำตาลทองปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 5-9 ใบ เรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงรูปไข่กลับ ใบย่อยปลายสุด ใบกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างกว้าง 0.7-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ปลายใบมนกลม โคนใบรูปลิ่ม ใบย่อยมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกเป็นช่อแน่น ตั้งขึ้น ยาว 10-20 เซนติเมตร กลีบดอกรูปดอกถั่ว มีขนนุ่มด้านนอก ดอกสีส้มแกมชมพู ขนาด 4-6 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนรูปไข่กลับ ด้านนอกมีขน กลีบข้างรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างเชื่อมกันคล้ายรูปท้องเรือ ก้านดอกย่อยยาวราว 1 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่เกลี้ยง กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนสีน้ำตาล ยาว 4 มิลลิเมตร ใบประดับเรียวยาว ยาว 25 มิลลิเมตร หลุดร่วงง่าย ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลทองหนาแน่น ปลายมีติ่งยาวแหลม ผลแก่แล้วแตก เมล็ดรูปกรวย สีน้ำตาล มี 6-9 เมล็ด พบตาทุ่งหญ้าที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ชุ่มชื้นริมทาง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
- ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ เป็นใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 5-9 ใบ ออกตรงข้าม รูปรี ถึงรูปไข่กลับ ใบย่อยปลายสุด กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายใบมนกลม ดอก สีส้มแกมชมพู ออกเป็นช่อแน่น ตั้งขึ้น ยาว 10-20 ซม. ใบประดับเรียวยาว หลุดร่วงง่าย ดอกย่อย รูปดอกถั่ว ขนาด 4-6 มม. กลีบรองดอกรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบน รูปไข่กลับ ด้านนอกมีขน กลีบข้างรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างเชื่อมกัน คล้ายรูปท้องเรือ เกสรผู้ 10 อัน รังไข่เกลี้ยง ผล เป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง 0.2 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. มีขนสีน้ำตาล หนาแน่น ผลแก่แล้วแตก มี 6-9 เมล็ด
- ความสูงของต้น 62-68 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.5-16.1 มิลลิเมตร ขนาดใบยาว 3.1-4.96 เซนติเมตร กว้าง 1.48-2.48 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 5.2-6.8 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.3 เซนติเมตรและมีขนสีน้ำตาลแดงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ช่อดอกยาว 12.39-23.35 เซนติเมตร ส่วนHeadยาว 5.11-12.17 เซนติเมตร ดอกยาว 0.67-0.95 เซนติเมตร ฝักยาว 1.85-2.01 เซนติเมตร กว้าง 0.2-0.3 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
- พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ตามทุ่งหญ้าที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ชุ่มชื้นริมทาง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
- พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ป่าละเมาะ ดินเหนียวปนลูกรัง ดินเหนียว เช่น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ต่างประเทศพบตามทวีปแอฟริกาเขตร้อน ตั้งแต่เซเนกัลไปจนถึงซูดาน ทางใต้ของแองโกลา โมซัมบิกและมาดากัสการ์ ผ่านเอเชียเขตร้อนไปจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ
- พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ตามทุ่งหญ้าที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ชุ่มชื้นริมทาง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
- พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ป่าละเมาะ ดินเหนียวปนลูกรัง ดินเหนียว
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- เป็นพืชล้มลุก (annual) ออกดอกติดฝักเมล็ดแก่ร่วงงอกใหม่ในฤดูฝนต่อไป ทรงต้นเป็นกอพุ่ม (herb) ขนาดเล็ก ปลายยอดตั้ง ลำต้นสีเขียวมีขนสีน้ำตาลยาว 3-4 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น (abundant) ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnate)เรียงตรงข้ามกัน (opposite) ใบเป็นแบบรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบสอบเรียว (attenuate) ปลายใบติ่งหนามสั้น (macronulate) หน้าใบและหลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวนวล ผิวใบนุ่ม (tender) เส้นกลางใบ (mid rib) เล็กยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นกลางใบด้านหลังมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตรเรียงตามกัน เส้นใบ (vein) แตกแบบขนนก (pinnate) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาวปน สีม่วงแดงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ก้านใบรวมมีขนสีน้ำตาลแดงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรคลุมอยู่หนาแน่น หูใบ (stipule) รูปแหลม (filiform) สีเขียวยาว 1-2 เซนติเมตรและมีขนขึ้นเรียงถี่ๆ ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดและซอกใบแบบช่อกระจะ (raceme) ดอกรูปดอกถั่วสีชมพูอมแดง มีฐานรองดอกแยกเป็น 5 แฉกและมีขนคลุม มี 67-130 ดอกต่อช่อ ฝักรูปทรงกระบอก กลม มีขนยาว 1-2 มิลลิเมตรคลุมหนาแน่น ปลายฝักมีติ่งหนามแหลมแข็งยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มี 76-120 ฝักต่อช่อ ฝักแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดสีน้ำตาลรูปกรวย
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เชียงราย, นครราชสีมา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สถานที่ชม :
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต