ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ยืนต้น 5-10 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ท้องใบสีขาวขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง ดอก เป็นช่อทรงกระบอก ยาว ห้อยลง ออกตามซอกใบ แยกเพศอยู่แยกต้น ไม่มีกลีบดอก ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
-
ไม้ยืนต้น 5-10 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ท้องใบสีขาวขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง ดอก เป็นช่อทรงกระบอก ยาว ห้อยลง ออกตามซอกใบ แยกเพศอยู่แยกต้น ไม่มีกลีบดอก ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
-
ไม้ต้น สูง 10-20 ม. แยกเพศต่างต้น ตาข้างเรียวคล้ายรูปไข่ ปลายแหลม หูใบขนาดเล็ก รูปไข่ เบี้ยว ขอบจัก ใบเรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 6-16 ซม. ปลายแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือมน ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีนวลด้านล่าง เส้นแขนงใบจำนวนมาก ก้านใบยาว 1-2 ซม. ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ออกหลังผลิใบอ่อน มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ก้านช่อสั้น บนก้านมีใบขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีขนยาว ดอกจำนวนมาก ใบประดับขนาดเล็ก รูปรี ติดทน โคนมีต่อมเชื่อมติดกันรูปจาน ต่อมแนบติดก้านดอกในดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศผู้ยาว 5-10 ซม. ช่อดอกเพศเมียยาว 8-12 ซม. เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 8 อัน ยาวประมาณ 5 มม. มีขนที่โคน รังไข่มีขนสั้นนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรจัก 2 พู ผลแห้งแตกเป็น 2 ซีก เกลี้ยง ยาวประมาณ 3 มม. เมล็ดขนาดเล็ก มีขนยาวละเอียดหนาแน่น
การกระจายพันธุ์ :
-
ชอบขึ้นอยู่ตามที่ลุ่ม หรือริมธารน้ำ ที่ระดับความสูง 200-1200 เมตร
-
ชอบขึ้นอยู่ตามที่ลุ่ม หรือริมธารน้ำ ที่ระดับความสูง 200-1200 เมตร
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
อุทยานแห่งชาติ เขาสิบห้าชั้น
-
ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น
ระบบนิเวศ :
-
ขึ้นตามที่โล่งริมลำธาร ความสูงถึงประมาณ 1900 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
จันทบุรี
-
พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
ป่าทามลำเซบาย, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2559
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช