ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น
-
ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 5-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา เป็นร่องตื้น มีช่องอากาศกระจายเป็นแถวตามยาวทั่วลำต้น ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับระนาบเดียว ใบย่อย เรียงตรงข้าม 5-7 คู่ รูปใบหอกกลับถึงใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 6-7 เซนติเมตร ใบย่อยตรงปลายมีขนาดใหญ่สุด โคนมน หรือสอบเข้าเกือบรูปลิ่ม ดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีน้ำตาลแดง กลีบดอก 5 กลีบ รูปดอกถั่ว สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เกสรเพศผู้ 10 เกสร ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็น 2 มัด รังไข่เหนือวงกลีบ ผล แห้งแตกสองแนว แข็งหนา สีน้ำตาล มีช่องระบายอากาศกระจายอยู่บริเวณขอบฝัก เมล็ดแบน สีน้ำตาล มี 2-3 เมล็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ต้น : ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 10 เมตร ใบ:ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยมี 3-4 คู่ ใบย่อยตรงปลายมีขนาดใหญ่สุด รูปไข่ถึงไข่กลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมมน หรือสอบเข้าเกือบรูปลิ่ม ดอก:ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลแดง กลีบดอกเกลี้ยง ผล: ผลแบบฝักแข็ง เมื่อแห้งสีน้ำตาล มีรูระบายอากาศกระจายอยู่บริเวณขอบฝัก เมล็ดแบนสีน้ำตาล มี 2-3 เมล็ด เปลือก: เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา เป็นร่องตื้น ๆ มีรูอากาศกระจายเป็นแถวตามยาวทั่วลำต้น
-
ออกดอกเดือนมีนาคม - สิงหาคมการกระจายพันธุ์ พบในป่าเบญจพรรณและเขาหินปูนที่ความสูง 50-350 เมตร
ระบบนิเวศ :
-
พบในป่าเบญจพรรณและเขาหินปูนที่ความสูง 50-350 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สระบุรี
-
ตาก
-
อุบลราชธานี
-
อุบลราชธานี
-
มุกดาหาร
-
มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ
-
ลพบุรี
-
ชัยภูมิ, เพชรบูรณ์
-
สุโขทัย, ลำปาง
-
อุตรดิตถ์
-
อุบลราชธานี
-
ตาก
-
ตาก
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย
-
อุทยานแห่งชาติ น้ำตกพาเจริญ
-
อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม
-
อุทยานแห่งชาติ ภูจอง-นายอย
-
อุทยานแห่งชาติ ภูผาเทิบ
-
อุทยานแห่งชาติ ภูสระดอกบัว
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซับลังกา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตะเบาะ-ห้วยใหญ่
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า น้ำปาด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก-ยอดมน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
การกระจายพันธุ์ :
-
ในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
การขยายพันธุ์ :
-
เพาะเมล็ด