ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้เถาเลื้อย อายุปีเดียว มีมือเกาะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบหยัก เว้าเป็นพู ๓ – ๗ พู ดอกแยกเพศ ออกจากซอกใบ สีเหลือง ผลรูปรี ผิวขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองส้ม และปริแตกออกเป็นชิ้น ดอกออกช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
-
บรรยายลักษณะต้น:ไม้เถาล้มลุก เลื้อยพัน มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุมใบ:ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปเกือบกลม กว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลมหรือมน ขอบใบหยักมน แผ่นใบเว้าลึก มี 5-7 หยักดอก:ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน เกสรเพศผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ มีก้านชูยอดเกสร 1 อัน ปลายแยก 3 แฉก มีเกสรผู้เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อนผล:ผลสด รูปป้อมรี หัวท้ายแหลม เมื่อสุกเป็นสีเหลืองส้ม ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดรูปไข่แกมรี ขนาด 7-10 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มสีแดง เปลือก:อื่นๆ:
ไม้เถาล้มลุก เลื้อยพัน มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปเกือบกลม กว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลมหรือมน ขอบใบหยักมน แผ่นใบเว้าลึก มี 5-7 หยัก
ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน เกสรเพศผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ มีก้านชูยอดเกสร 1 อัน ปลายแยก 3 แฉก มีเกสรผู้เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อน
ผลสด รูปป้อมรี หัวท้ายแหลม เมื่อสุกเป็นสีเหลืองส้ม ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดรูปไข่แกมรี ขนาด 7-10 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มสีแดง
ไม้เถาล้มลุก เลื้อยพัน มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปเกือบกลม กว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลมหรือมน ขอบใบหยักมน แผ่นใบเว้าลึก มี 5-7 หยัก
ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน เกสรเพศผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ มีก้านชูยอดเกสร 1 อัน ปลายแยก 3 แฉก มีเกสรผู้เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อน
ผลสด รูปป้อมรี หัวท้ายแหลม เมื่อสุกเป็นสีเหลืองส้ม ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดรูปไข่แกมรี ขนาด 7-10 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มสีแดง
-
ไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 4 ม. มีขนสั้นนุ่ม แยกเพศร่วมต้น ใบรูปฝ่ามือ 5–9 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5–10 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ปลายเป็นติ่ง แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาว 1.5–5 ซม. ไม่มีต่อม ช่อดอกมีดอกเดียว ใบประดับเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1.5 ซม. ติดใต้กึ่งกลางก้านช่อ ช่อดอกเพศผู้ยาว 0.5–5 ซม. ก้านดอกยาว 2–6 ซม. ฐานดอกยาว 2–4 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่แคบ ๆ ยาว 4–6 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 1–2 ซม. ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูติดกัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีปุ่ม ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลรูปรี ยาว 2–11 ซม. ปลายแหลมยาว ผิวเป็นตุ่มแหลม มีสันตามแนวยาว 8–10 สัน แตกเป็น 3 ส่วน ก้านผลยาว 3.5–15 ซม. เมล็ดแบน ยาว 0.8–1.5 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฟักข้าว, สกุล)
-
ไม้เถาเลื้อย อายุปีเดียว มีมือเกาะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบหยัก เว้าเป็นพู ๓ – ๗ พู ดอกแยกเพศ ออกจากซอกใบ สีเหลือง ผลรูปรี ผิวขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองส้ม และปริแตกออกเป็นชิ้น ดอกออกช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
-
ไม้เถา
การกระจายพันธุ์ :
-
-
-
พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และพบทั่วไป
-
-
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์ – แม่เปิน ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว ป่าสงวนแห่งชาติป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม
-
ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
สุราษฎร์ธานี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,ผล รับประทานเป็นผักและสมุนไพร
-
อาหาร, สมุนไพร
ข้อมูลภูมิปัญญา
-
มะระขี้นก “มีคุณประโยชน์ที่มากกว่าความขม” :: ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.ชื่อท้องถิ่น : มะระขี้นก มะระเล็ก ผักสะไล (ทั่วไป) ผักไห่ มะไห่ มะนอย (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) เป็นพืชในตระกูล CUCURBITACEAE เช่นเดียวกับแตง น้ำเต้า ฟักทอง และแฟง สรรพคุณ :1. กระตุ้นความอยากอาหาร2. มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ3. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด4. แก้ไข้ แก้ตัวร้อน ข้อควรระวังในการรับประทานห้ามรับประทานผลที่สุกแล้ว (สีเหลือง) เนื่องจากผลสุกมีสารไซยาไนต์และสารซาโปนินในปริมาณมาก ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ช็อกหมดสติ และอาจเสี
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
กรมป่าไม้
-
ป่าชุมชน บ.ทุ่ง ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน
-
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช