ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
พืชล้มลุก ทอดเลื้อยชูยอดเหนือดิน สูงถึง 50 ซม. มีขนระเอียดปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปปลายหอกกว้าง 2 ซม. ยาว 3 ซม. ปลายใบแหลมท้องใบและหลังมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ขนาด 9-11 มม. ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 20 ซม. ดอกย่อยอัดแน่นบนช่อดอกปลายกลีบแผ่เว้าเป็นสามแฉก ดอกด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 8 มม. เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวเมีย1 อัน ปลายแยก 2 แฉก ผล แห้งไม่แตก เปลือกเหนียว มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
-
พืชล้มลุกทอดเลื้อยตามพื้นดิน อายุปีเดียว ต้นสูงไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร ลำต้น ก้านใบ และใบมีขนสากคาย ใบเรียงตรงกันข้าม รูปไข่ ยาว ๒-๔ เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก โคนใบสอบ ช่อดอกชูตั้งขึ้น ก้านช่อดอกยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร ช่อดอกเป็นกระจุกกลม กว้าง ๖-๗ มิลลิเมตร มีกลีบดอกวงนอกสีขาว ยาว ๓-๕ มิลลิเมตร ปลายจักลึก ๒-๓ พู มีดอกวงในและเกสรสีเหลือง ช่อผลแก่เมล็ดจะแตกฟูเป็นทรงกลม กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตร เมล็ดยาว 2 มิลลิเมตร ปลายมีพู่ขนจำนวนมาก, ชอบขึ้นตามที่โล่งข้างทางหรือชายป่า ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร พบมากทางตอนบนของประเทศ
-
พืชล้มลุก ทอดเลื้อยชูยอดเหนือดิน สูงถึง 50 ซม. มีขนระเอียดปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปปลายหอกกว้าง 2 ซม. ยาว 3 ซม. ปลายใบแหลมท้องใบและหลังมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ขนาด 9-11 มม. ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 20 ซม. ดอกย่อยอัดแน่นบนช่อดอกปลายกลีบแผ่เว้าเป็นสามแฉก ดอกด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 8 มม. เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวเมีย1 อัน ปลายแยก 2 แฉก ผล แห้งไม่แตก เปลือกเหนียว มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ในประเทศไทยพบทุกภาค ในที่ชื้นทั่วไปหรือชื้นแฉะริมน้ำ
-
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ในประเทศไทยพบทุกภาค ในที่ชื้นทั่วไปหรือชื้นแฉะริมน้ำ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
หมู่เกาะอ่างทอง
-
ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
ถิ่นกำเนิด :
-
เขตร้อนในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
สุราษฏร์ธานี
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ล้มลุก
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
อาหาร,สมุนไพร,ต้นอ่อนเป็นอาหารสัตว์ ใบใช้ตำพอกรักษาฝีได้ แก้อาการปวด แก้อักเสบตามข้อ ปวดตามกระดูก
-
ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวด แก้อักเสบตามข้อ ปวดตามกระดูก (ใบ) แก้อับเสบ แก้ไอ
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 6 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกาะ, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
ป่าทามลำเซบาย, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2559
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง มาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัด ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
-
คู่มือพันธ์ุไม้ท้องถิ่น ตำบลแม่กิ๊ก อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช