ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ล้มลุก
- เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นสั้น มีขนมาก ใบเดี่ยวเรียงซ้อนสลับเป็นวงรอบที่โคนต้นใกล้ผิวดิน ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ (obovate-oblong) หรือใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ (obovate-lanceolate) ขอบใบเป็นจักพันเลื่อย (serrate) หน้าใบมีขนน้อยถึงปานกลาง ส่วนหลังใบมีขนมาก ช่อดอกแทงออกจากกลางต้น ชูสูงกว่าพุ่มใบก้านช่อดอกแตกแขนงได้ช่อย่อย 1-13 ช่อ แต่ละช่อมีใบประดับ 3-4 ใบ รูปสามเหลี่ยมกลีบดอกสีม่วงออกเป็นกระจุก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ภูผาเทิบ
- พบที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 130 เมตร โดยพบขึ้นทั่วไปในสภาพดินร่วนปนทราย ที่มีร่มเงา เล็กน้อย อำเภอเมือง และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
- ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก สูง 10-80 ซม. ลำต้นแข็ง ตั้งตรง มีขนยาวเอนราบ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบที่โคนต้นเรียงถี่คล้ายกระจุกรอบใกล้ผิวดิน แผ่นใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-6 ซม. ยาว 5-35 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบหยักซี่ฟัน จักฟันเลื่อย หรือเรียบเป็นคลื่น มีขนยาวประปรายทั้ง 2 ด้านหรือด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 12-25 เส้น ก้านใบสั้นมาก อาจพบยาวได้ถึง 1.5 ซม. ใบที่อยู่เหนือโคนต้นขึ้นไปจะมีขนาดเล็กลงเป็นลำดับ ใบบน ๆ มักไม่มีก้านและมีโคนใบโอบลำต้น ช่อดอก แบบช่อกระจุกแน่นแยกแขนง ส่วนมากแยกสอง ออกที่ยอด ช่อยาวได้ถึง 30 ซม.ช่อกระจุกแน่นกว้างประมาณ 1 ซม. มีเฉพาะดอกย่อยกลาง (disc floret) แต่ละช่อกระจุกแน่นมีใบประดับ 3-4 ใบ รูปไข่กว้างปลายแหลม และมีวงริ้วประดับที่มีริ้วประดับรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม ประมาณ 8 อัน เรียงเป็นวง 2 วง วงนอกมี 5 อัน วงนอกยาวประมาณ 5 มม. ค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนประปราย วงในยาวประมาณ 1 ซม. มีขนหนาแน่น ด้านบนของฐานดอกเกลี้ยง ดอกสมบูรณ์เพศไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงเป็นขนอุย (pappus) กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 5-9 มม. สีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปใบหอกแคบ ยาว 2-3 มม.สีม่วงหรือสีม่วงแกมแดง เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดในหลอดกลีบดอก รังไข่ใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง มือออวูล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเพศเมียมี 2 พู ผล แบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกแคบ ยาวประมาณ 4 มม. มีสันตามยาว 10 สัน มีขนนุ่ม และมีรยางค์ล้ายขนแข็ง มีสันตามยาว 4-6 มม.เมล็ด เล็ก รูปทรงรีแกมรูปไข่
- ต้นสูง 14-50 เซนติเมตร ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ (obovate-lanceolate) กว้าง 3.8-5.0 เซนติเมตร ยาว 13.4-18.2 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
- พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ตามป่าละเมาะชายป่าโปร่ง ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
สถานที่ชม :
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้า ดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่งและม้ากระทืบโรง หรือจะใช้ใบต้มกับน้ำดื่มก็ได้ และนอกจากนี้ยังใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้ม นำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยใช้ผสมเข้ายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ คือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง ลำต้นฮ่อสะพายควาย สะค้าน ตานเหลือง มะตันขอ เปลือกลำ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และข้าวหลามดง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาบำรุงก็ได้เหมือนกัน ช่วยบำรุงหัวใจ ลำต้นและใบใช้เป็นยาบำรุงเลือด เหมาะสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ช่วยทำให้อยากอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยแก้กษัย ทั้งต้นมีรสกร่อนจืดและขื่นเล็กน้อย ใช้รับประทานช่วยทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับเหงื่อ ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรียได้
ที่มาของข้อมูล