ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้ล้มลุก ฤดูเดียว สูง 60-80 เซนติเมตรใบ:ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนใบเรียวแคบเป็นก้านใบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นแฉกบริเวณฐานใบดอก:ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกสีขาวแกมสีส้มออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่ออ่อน รูปทรงกระบอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่ส่วนโคนมีใบประดับคล้ายเกล็ดหุ้ม ดอกย่อยอยู่รวมกันเป็นกระจุกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน โคนเชื่อมติดกันผล:ผลขนาดเล็กมาก รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนฟูสีขาวเป็นพู่ที่ปลาย น้ำหนักเบา ปลิวไปได้ตามลมเปลือก:อื่นๆ:

ไม้ล้มลุก ฤดูเดียว สูง 60-80 เซนติเมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนใบเรียวแคบเป็นก้านใบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นแฉกบริเวณฐานใบ
ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกสีขาวแกมสีส้มออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่ออ่อน รูปทรงกระบอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่ส่วนโคนมีใบประดับคล้ายเกล็ดหุ้ม ดอกย่อยอยู่รวมกันเป็นกระจุกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน โคนเชื่อมติดกัน
ผลขนาดเล็กมาก รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนฟูสีขาวเป็นพู่ที่ปลาย น้ำหนักเบา ปลิวไปได้ตามลม

- พืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง ๓๐-๕๐ เซนติเมตร ลำต้นและใบเกลี้ยง-มีขนประปราย ใบเรียงสลับ รูปรี ยาว ๗-๑๒ เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย หรือหยักเป็นแฉกลึกแบบขนนก โคนใบสอบ เนื้อใบอ่อนนุ่ม ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ปลายช่อดอกมักจะอ่อนโค้งงอลง ช่อดอกเป็นกระจุกทรงกระบอก ยาว ๑ เซนติเมตร กว้าง ๓-๕ มิลลิเมตร ไม่มีดอกย่อยวงนอก (ray floret) ดอกย่อยวงในสีส้ม-แดงอมน้ำตาล โคนสีขาว ผล แตกเป็นขนปุยนุ่นสีขาว ทรงกลม กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้ดี ชอบขึ้นตามไร่ร้าง ไร่เลื่อนลอย บนภูเขาสูง ตามชายป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณขึ้นหรือพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๓๐๐ เมตร
การกระจายพันธุ์ :
- พบในป่าเบญจพรรณออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ต่างประเทศพบที่แอฟริกาเขตร้อน ปัจจุบันกระจายทั่วไปในเขตร้อน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
- เขตร้อนในทวีปแอฟริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,ยอดอ่อนและดอกอ่อน นึ่งรับประทานได้
- รับประทานเป็นผัก
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ยอด ดอกอ่อน