ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 3 คู่ รูปไข่กลับ ปลายกลมโคนสอบกลม ดอกช่อ ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อละ 2-4 ดอก กลีบดอกสีเหลือง รูปไข่กลับปลายกลม แต่ละกลีบขนาดไม่เท่ากัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ค่อนข้างโค้ง เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
- บรรยายลักษณะต้น:ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ใบ:ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุยดอก:ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีขนครุยตามขอบผล:ผลแบบฝักรูปขอบขนานแบน เปลือก:อื่นๆ:

ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง
ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย
ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีขนครุยตามขอบ
ผลแบบฝักรูปขอบขนานแบน

- ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1 ม. หูใบเป็นขนแข็ง ยาว 1–1.5 ซม. ใบประกอบมีใบย่อย 3 คู่ แกนใบประกอบยาว 2–3 ซม. ก้านยาว 1–4 ซม. มีต่อมระหว่างใบคู่ล่าง ใบย่อยรูปไข่กลับ ใบช่วงปลายขนาดใหญ่ ยาว 2–5 ซม. ปลายกลม มีติ่งแหลม โคนมนแคบ ก้านใบสั้น ช่อดอกสั้น มี 1–3 ดอก ใบประดับรูปแถบขนาดเล็ก ก้านดอกยาว 0.4–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ขนาดไม่เท่ากัน ยาวได้ถึง 1 ซม. เกสรเพศผู้ 7 อัน ยาวเท่า ๆ กัน ก้านชูอับเรณูยาว 1.5–2 มม. อับเรณูยาวกว่าก้าน มีช่องเปิดที่ปลาย ไม่มีเกสรเพศผู้ที่ลดรูป รังไข่มีขนสั้นนุ่ม ฝักรูปแถบ โค้งเล็กน้อย ยาว 10–15 ซม. เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ขี้เหล็ก, สกุล)
- ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นครราชสีมา
- บ้านห้วยแม่ไฮ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
การกระจายพันธุ์ :
- พบตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป
- พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนทราย
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- เป็นไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุกดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong)
ถิ่นกำเนิด :
- ไทย
สถานที่ชม :
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปาง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล
การขยายพันธุ์ :
- ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ส่วนยอดอ่อนและใบ เป็นยาระบาย เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง คั่วชงน้ำกิน บำรุงประสาทแก้นอนไม่หลับ บดผสมน้ำมันพืชทาแก้หิด กลาก เกลื้อน