ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม สูง 1-5 ม. กิ่งแผ่ออกด้านข้าง ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยมี 8-20 คู่ แกนกลางใบหนา ยาวประมาณ 30-60 ซม. ก้านใบประกอบยาวประมาณ 2 ซม. หูใบรูปติ่งหู สามเหลี่ยม ยาว 6-8 มม. ติดทน ใบย่อยรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 5-15 ซม. ปลายใบและโคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบย่อยหนา ยาว 2-3 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ แคบๆ ออกตามซอกใบ ยาว 20-50 ซม. ใบประดับรูปรี ยาว 2-3 ซม. ร่วงง่าย ก้านดอกย่อย ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมในตาดอก รูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 1-2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด แผ่นกลีบรูปไข่เกือบกลม หรือรูปช้อน ยาวประมาณ 2 ซม. มีก้านกลีบสั้นๆ เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน อันยาว 2 อัน ก้านเกสรหนา ยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูยาว 1.2-1.3 ซม. เกสรเพศผู้อันสั้น 4 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 2 มม. อับเรณูยาว 4-5 มม. เกสรเพศผู้ที่ลดรูป 4 อัน อับเรณูเปิดที่ปลาย รังไข่เกลี้ยง ออวุลจำนวนมาก ยอดเกสรขนาดเล็ก ฝักรูปแถบ ยาว แบน เกลี้ยง ยาว 10-15 ซม. มีปีกกว้างประมาณ 5 มม. ฝักมีผนังกั้น เมล็ดมี 50-60 เมล็ด แบน เป็นเหลี่ยม ยาว 7-10 มม.
-
ไม้พุ่ม สูง ๑-๒ เมตร มีช่อดอกสีเหลือง ตั้งขึ้นสูง ๓๐-๕๐ เซนติเมตร ดอกตูม สีน้ำตาล ชอบขึ้นตามที่โล่งใกล้แหล่งน้ำ หรือที่ดินชื้นแฉะ ฝักเป็นแท่งยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร มี ๔ ปีกตามแนวยาว เมื่อแก่จะแห้งแตก เมล็ดแพร่กระจายไปตามน้ำและนก
-
ไม้พุ่ม สูง 1-5 ม. กิ่งแผ่ออกด้านข้าง ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยมี 8-20 คู่ แกนกลางใบหนา ยาวประมาณ 30-60 ซม. ก้านใบประกอบยาวประมาณ 2 ซม. หูใบรูปติ่งหู สามเหลี่ยม ยาว 6-8 มม. ติดทน ใบย่อยรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 5-15 ซม. ปลายใบและโคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบย่อยหนา ยาว 2-3 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ แคบๆ ออกตามซอกใบ ยาว 20-50 ซม. ใบประดับรูปรี ยาว 2-3 ซม. ร่วงง่าย ก้านดอกย่อย ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมในตาดอก รูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 1-2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด แผ่นกลีบรูปไข่เกือบกลม หรือรูปช้อน ยาวประมาณ 2 ซม. มีก้านกลีบสั้นๆ เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน อันยาว 2 อัน ก้านเกสรหนา ยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูยาว 1.2-1.3 ซม. เกสรเพศผู้อันสั้น 4 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 2 มม. อับเรณูยาว 4-5 มม. เกสรเพศผู้ที่ลดรูป 4 อัน อับเรณูเปิดที่ปลาย รังไข่เกลี้ยง ออวุลจำนวนมาก ยอดเกสรขนาดเล็ก ฝักรูปแถบ ยาว แบน เกลี้ยง ยาว 10-15 ซม. มีปีกกว้างประมาณ 5 มม. ฝักมีผนังกั้น เมล็ดมี 50-60 เมล็ด แบน เป็นเหลี่ยม ยาว 7-10 มม.
การกระจายพันธุ์ :
-
พบทั่วไปทุกภาค
-
พบทั่วไปทุกภาค
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
พื้นที่เกษตรกรรมริมน้ำนนทบุรีและเกาะเกร็ด
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
นนทบุรี
-
นนทบุรี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช