ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
- ลำต้น : ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15-20 เมตร ทรงพุ่มพีระมิด เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา แตกสะเก็ดตามแนวขวางและมีรอยแผลการหลุดของกิ่งชัดเจน
- ใบ : ใบเดี่ยว เปลี่ยนรูปคล้ายเกล็ด รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ปลายแหลมโค้งเข้าด้านใน มีติ่งหนาม ประกอบเป็นช่อใบ อยู่บนกิ่งคล้ายหางกระรอก เรียงตรงข้ามคล้ายขนนก บนกิ่งที่แตกเป็นชั้น ๆ ช่อใบอ่อนตั้งขึ้นและช่อใบแก่ห้อยลง สีเขียวอมน้ำเงิน
- ดอก : ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียรวมอยู่ในต้นเดียวกันหรืออาจแยกต้นกันอยู่ ส่วนมากจะพบแยกต้นกันอยู่ แต่จะพบบ้างเล็กน้อยที่ทั้งสองเกสรอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกจะแทงออกบริเวณยอด มีดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ก้านเกสรแต่ละอันประกอบด้วยอับละอองเกสร โดยทั่วไปจะมีสีเหลืองม่วงหรือแดงเข้ม
- เมล็ด : มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีการเรียงตัวแบบเกลียวอยู่ชิดซ้อนกันเป็นเกล็ดๆ ตรงส่วนปลายมีลักษณะยาว ตรงบริเวณขอบมีลักษณะบางลงเป็นปีก (wing) ส่วนบริเวณยอดจะหนา และแข็ง และอยู่ติดกับเมล็ดเดียวแบนๆไม่มีปีก
- ใบ : ใบเดี่ยว เปลี่ยนรูปคล้ายเกล็ด รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ปลายแหลมโค้งเข้าด้านใน มีติ่งหนาม ประกอบเป็นช่อใบ อยู่บนกิ่งคล้ายหางกระรอก เรียงตรงข้ามคล้ายขนนก บนกิ่งที่แตกเป็นชั้น ๆ ช่อใบอ่อนตั้งขึ้นและช่อใบแก่ห้อยลง สีเขียวอมน้ำเงิน
- ดอก : ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียรวมอยู่ในต้นเดียวกันหรืออาจแยกต้นกันอยู่ ส่วนมากจะพบแยกต้นกันอยู่ แต่จะพบบ้างเล็กน้อยที่ทั้งสองเกสรอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกจะแทงออกบริเวณยอด มีดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ก้านเกสรแต่ละอันประกอบด้วยอับละอองเกสร โดยทั่วไปจะมีสีเหลืองม่วงหรือแดงเข้ม
- เมล็ด : มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีการเรียงตัวแบบเกลียวอยู่ชิดซ้อนกันเป็นเกล็ดๆ ตรงส่วนปลายมีลักษณะยาว ตรงบริเวณขอบมีลักษณะบางลงเป็นปีก (wing) ส่วนบริเวณยอดจะหนา และแข็ง และอยู่ติดกับเมล็ดเดียวแบนๆไม่มีปีก
การขยายพันธุ์ :
-
การปักชำ การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง