ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกขนาดเล็ก (28 ซม.) ปากสีดำ หัวและคอหอยสีขาว มีแถบรอบคอสีดำ ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มักเห็นเป็นสีดำ มีลายจุดสีขาวที่ปีก ตะโพกและปลายขนหางสีขาว ตาสีเทาอ่อน วงรอบเบ้าตาสีเหลือง นิ้วสีเหลือง
- มีขนาดประมาณ 27-30.5 เซนติเมตร หัวและคอเหลืองนวล ปากดำ หนังรอบตาเหลือง รอบคอและอกเป็นแถบดำใหญ่ลำตัวด้านบนดำแกมน้ำตาล ปีกมีแถบขาวแคบๆ เห็นชัดขณะบิน ตะโพกและลำตัวด้านล่างขาว นกวัยอ่อน หัวและคอน้ำตาลอ่อน หนังรอบตาเหลืองคล้ำ หลังและปีกน้ำตาลแกมดำ
ระบบนิเวศ :
- พบตามทุ่งโล่งที่แห้งแล้ง ใกล้กับเหล่งน้ำ หากินตามพื้นดิน อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลง ตัวหนอน สัตว์ขนาดเล็ก และธัญพืช นอกจากนี้ยังหากินตามกิ่งก้านของต้นไม้ โดยกินผลไม้ต่างๆ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
- กระบี่
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
การขยายพันธุ์ :
- ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ทำรังตามต้นไม้ โพรงไม้ ซอกชายคาบ้าน รังค่อนข้างหยาบ ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็กๆ ทำจากใบไม้ ใบหญ้า ฟางข้าว นำมาซ้อนทับกัน แต่ละรังมีไข่ 4-5 ฟอง ไข่สีน้ำเงิน ใช้เวลาฟักไข่ 17-18 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าคำหัวแฮด, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูสีฐาน(ป่าภูผาซาน), ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือและป่ายางน้ำกลัดใต้, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูโหล่ย, ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่, ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-ป่าเขาไฟไหม้), ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเป้ง, ป่าสงวนแห่งชาติป่าสีสุก, ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงโพนทราย, ป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนแพร่-น่าน, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่คำมี, ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว, ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ปางสีดา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล