ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- นกเพศผู้ ตาสีแดง หัวและลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมเทาเข้มมากกว่าชนิดอื่นๆ เส้นกลางคอดำ คอและอกตอนบนมีลาย
ขีดหนาสีน้ำตาลเข้ม อกตอนล่างและท้องมีลายขวางค่อนข้างหนาสีส้มแกมน้ำตาล ขณะบินปีกค่อนข้างสั่นและกว้าง ใต้ทางมีแถบขวางสี่เข้ม 3 แถบชัดเจน นกเพศเมีย ตาสีเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมดำ หัวและท้ายทอยสีเข้มมากหรือเป็นสีดำแตกต่างจากหลัง นกไม่เต็มวัย
จำแนกได้ยากจากเหยี่ยวนกเขาชิคราและเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่นแต่หัวและท้ายทอยเข้มแตกต่างจากหลัง เส้นใต้คอซัดเจนกว่า ลายขีดที่อกดำ ขณะบินปลายปีกค่อนข้างทู่
- ขนาดลำตัวยาวประมาณ 31-35 เซนติเมตร ตัวผู้จะตัวเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย สีสันทั้ง2 เพศก็แตกต่างกัน ตัวผู้ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมดำจนถึงสีเทาเข้ม บริเวณหัวสีออกดำ อกและท้องสีเทาถึงน้ำตาลแดง มีลายทางสีขาวและดำตรงกลางอก และมีลายแถบสีขาวที่ท้อง ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว ตัวเมียด้านบนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องสีขาว มีลายสีเข้มที่คอหอย ลายทางสีน้ำตาลที่อก และลายแถบสีน้ำตาลที่ท้อง วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ไข่สีขาวแกมฟ้า ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 18-21 วัน
ระบบนิเวศ :
- ป่าดิบ ป่าโปร่ง
- ระบบนิเวศภูเขา
- ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เลย
- อุบลราชธานี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- ป่าภูหลวง
- ผาแต้ม
- ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ แม่ตีบ แม่สาร
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อื่นๆ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, )
- สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2016)
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลสภานภาพ CITES

CITES โลก

- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2013-06-12)

CITES ไทย

- บัญชีหมายเลข II

พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
NSM Chanthaburi
NSM Chanthaburi
NSM Nakhon ratchasima
NSM Saraburi
NSM Nan
NSM Chiang mai
NSM Chiang mai
NSM Kanchanaburi
NSM Chon buri
NSM Chon buri
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ